ตามพรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ปี2545 กำหนดให้ผู้ที่ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจากข้อมูลปี2556 ประเทศไทยมีผู้ติดยาเสพติด4,438 คนและติดยาบ้าเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ53.70มีผู้ป่วยที่เข้าสู่การบำบัดยาบ้า ร้อยละ100(สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ปี 2555-2559)และปี2556-2558รพ.ท่าวังผามีผู้ติดยาบ้าเข้ารับการบำบัด148,169 และ131 คนตามลำดับอัตราความสำเร็จร้อยละ 75.67,89.94 และ90 ตามลำดับแต่ยังพบการกลับไปเสพยาซ้ำหลังบำบัด 3เดือน 36ราย ร้อยละ 24.32,17 รายร้อยละ10.05และ13 รายร้อยละ 9.92 ตามลำดับจากพฤติกรรมของผู้ป่วยได้แก่การใช้ยาเพื่อให้ทำงานมากขึ้นไม่เหนื่อย25 รายผู้ที่ติดสุรา,บุหรี่ใช้สารเสพติดและกลุ่มขาดนัดไม่มีรถมาบำบัด20 รายอยู่ในพื้นที่ที่ยาบ้าชุกชุม13 ราย และพบครอบครัว ชุมชนไม่ให้ความใส่ใจตลอดจนการดูแลต่อเนื่องยังไม่เป็นรูปแบบที่ชัดเจน
เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดสารเสพติดชนิดยาบ้าโดยใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติดชนิดยาบ้าแบบมีส่วนร่วม
วิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมผู้ที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติดชนิดยาบ้า 58 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ระหว่างตุลาคม2558- สิงหาคม2559 เครื่องมือที่ใช้ 4ชิ้น คือ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ,ความพึงพอใจแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วมการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ 1.ระยะเตรียมการ วิเคราะห์ปัญหาออกแบบโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย 2.ระยะดำเนินการ1)ปรับโปรแกรมบทเรียนที่ 16เล่นเกมส์บทบาทสมมุติเพื่อสร้างสัมพันธภาพ,แนวปฏิบัติของครอบครัว2)สร้างภาพพลิกวีดีโอเป็นการ์ตูนคู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3)ช่องทางช่วยเหลือไลน์กลุ่มฟ้าใส4)ชุมชนสร้างกฎระเบียบทุกหมู่บ้านลงโทษผู้เสพยาปรับเป็นเงินเข้าหมู่บ้าน5)ชุมชนจัดกีฬาปลอดยาเสพติด 6)งานปกครองส่งเสริมอาชีพ7)เยี่ยมบ้านร่วมกับชุมชนอสม/จนท.เครือข่าย บสต.ท่าวังผาระยะที่ 3 ประเมินผล โดยสถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test
มีรูปแบบการบำบัดสารเสพติดชนิดยาบ้าโดยใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วมส่งผลให้ พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05อัตราการบำบัดสำเร็จไม่กลับไม่เสพซ้ำหลังจำหน่าย 3 เดือนจำนวน 55 คนคิดเป็นร้อยละ 94.82 อัตราการกลับมาเสพยาซ้ำหลังจำหน่าย 3 เดือนจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.17 จำแนกตามพฤติกรรม ดังนี้ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาเพื่อให้ได้ทำงานมากขึ้น ไม่เหนื่อย กลับไปใช้ยาบ้าจำนวน 1 รายร้อยละ 4 กลุ่มที่อยู่ในที่ชุกชมของยาบ้า กลับไปใช้ยาบ้า 2ราย ร้อยละ 15.38 และไม่พบกลุ่มที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราที่กลับไปเสพยาบ้าความพึงพอใจต่อรูปแบบโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติดชนิดยาบ้าแบบมีส่วนร่วมของผู้ป่วยร้อยละ 97.01 และความพึงพอใจของญาติ/ครอบครัวร้อยละ 98.32
ได้นำรูปแบบโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วมไปปรับใช้ในการการบำบัดบุหรี่และสุรา และขยายผลการดูแลต่อเนื่องไปยัง รพ.สต.ในเครือข่ายและที่อื่นๆหากมีหน่วยบริการมาขอคำปรึกษา
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลช่วยเหลือผู้เข้ารับการบำบัดสารยาบ้าโดยมีรูปแบบโปรแกรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักถึงคุณค่าของตนเองมีกำลังใจเข้ารับการบำบัดจนประสบความสำเร็จมีทักษะชีวิตที่เหมาะสมจึงไม่หันกลับไปเสพซ้ำอีก
ทีมมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาผู้ป่วย ตั้งใจทำงาน มีการพัฒนาตนเองและมุ่งมั่นให้ผู้เข้ารับการบำบัดมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นเพื่อคืนคนดีเข้าสังคมโดยยึดตามมาตรฐานวิชาชีพรวมถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการ ของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและทีมสหสาขาวิชาชีพ
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย