การวางแผนจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานสามารถลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลด้วยอาการไม่พึงประสงค์ อีกทั้งลดระยะวันนอนในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็นได้ โรงพยาบาลส่องดาวมีผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วันในปี พ.ศ. 2557-2559 เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ คิดเป็นร้อยละ 12.79, 13.48และ 13.21ตามลำดับซึ่งจากการทบทวนอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการจำหน่ายผู้ป่วยของโรงพยาบาลที่ผ่านมาพบว่าการวางแผนจำหน่ายยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรการปฏิบัติไม่เป็นไปตามกระบวนการวางแผนจำหน่าย การประเมินปัญหาและความต้องการการดูแลหลังการจำหน่ายไม่ครอบคลุมดังนั้นการพัฒนาการรูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานจึงเป็นแนวทางลดอัตราการกลับมารับการรักษาซ้ำได้
เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายแบบ IDEAL Discharge Planning Methodที่ใช้ในโรงพยาบาลส่องดาวและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา(R2R) รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแบบ IDEAL โดยใช้แนวคิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมศึกษาระหว่างเดือน พฤศจิกายน2559 ถึง มีนาคม2560 มีขั้นตอนการพัฒนา3 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษา สถานการณ์ ปัญหาในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยในโรงพยาบาลทบทวนวรรณกรรม 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนารูปแบบ และ 3) จัดทำรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแบบ IDEAL แบบฟอร์มและคู่มือการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยและนำไปทดลองใช้ กลุ่มพัฒนารูปแบบเป็นหัวหน้างานกลุ่มการพยาบาลจำนวน 6 คนและผู้ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น จำนวน 23คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบบันทึกที่ใช้ในการวางแผนจำหน่าย และ2) คู่มือการวางแผนจำหน่ายตามรูปแบบ IDEAL เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้นแบบIDEAL มีขั้นตอนการวางแผนจำหน่ายเป็น 4 ระยะและกำหนดกิจกรรมในแต่ละระยะที่ชัดเจนดังนี้1) ประเมินแรกรับเพื่อกำหนดตัวผู้ดูแลขณะอยู่บ้านชี้แจงการใช้อุปกรณ์การสื่อสารความต้องการขณะอยู่ในโรงพยาบาลกำหนดเป้าหมายการรักษาและแนะนำผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนจำหน่าย2) กำหนดประเด็นการวางแผนจำหน่ายตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง3) ดำเนินกิจกรรมการวางแผนจำหน่ายตามประเด็นที่กำหนดรายวัน4) ให้ความรู้ในวันจำหน่าย พยาบาลวิชาชีพที่ใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายแบบ IDEAL มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.06±0.34
รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแบบIDEALมีขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นระบบ มีขั้นตอนและมีระบบการบันทึกที่ชัดเจน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนจำหน่ายที่สามารถตรวจสอบได้และผู้ให้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายตามรูปแบบ อยู่ในระดับมาก
การปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายรายวันแบบIDEALมีความยุ่งยากในการปฏิบัติในช่วงเวรเช้าซึ่งเป็นช่วงที่มีกิจกรรมการพยาบาลเป็นจำนวนมาก และกิจกรรมการวางแผนจำหน่ายใช้เวลามาก จึงเห็นว่าควรกำหนดเวลาของกิจกรรมในระยะระหว่างการดำเนินการตามแผนเป็นช่วงเวรอื่นที่ไม่ใช่เวรเช้า
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแบบIDEALมีขั้นตอนการปฏิบัติที่แบ่งตามระยะเวลา และมีการกำหนดกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน และมีระบบการบันทึกที่สามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติย้อนกลับได้ เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจวิธีการนำไปใช้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนจำหน่ายได้จริง
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย