โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น ไข้เลือดออก สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัยทุกพื้นที่ แต่ละปีมีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก ปัจจัยสำคัญคือ ความหนาแน่นของยุงและความชุกชุมของเชื้อโรคในยุง มาตรการที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคจึงเน้นไปที่การควบคุมยุงพาหะโดยลดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงตัวเต็มวัย เครื่องมือที่ใช้ลดความหนาแน่นของยุงในเวลาอันรวดเร็วคือ การพ่นสารเคมีกำจัดยุง จากการสำรวจพบว่าเครื่องพ่นหมอกควันมักเกิดปัญหาที่ทำให้การพ่นสารเคมีไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่ 1.เครื่องพ่นมีความร้อนสูง 2.เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก ต้องพักเครื่องบ่อยหรือเครื่องไม่ทำงาน ทำให้การควบคุมโรคล่าช้า 3.ค่าซ่อมแพง อะไหล่แพง หายาก ดังนั้นสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จ.นครราชสีมา จึงมีแนวคิดในการสร้างเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงที่ทนต่ออากาศร้อน ใช้งานได้ดีและต้นทุนต่ำ เพื่อลดโรคติดต่อนำโดยแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อสร้างเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงที่มีมาตรฐาน เหมาะกับการใช้งานในสภาพอากาศร้อน กำจัดยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ
เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา ดำเนินการในปี 2557-2560 โดยใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม ADDIE Model 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. A: Analysis ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง 3. D: Development สร้างต้นแบบเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง โดยใช้อุปกรณ์ที่หาง่ายและราคาไม่แพง 4. I: Implement ทดสอบการใช้งาน และปรับปรุงเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง จนสามารถใช้งานได้ดี และไม่พบปัญหาในการใช้งาน 5. E: Evaluation ประเมินผลเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงและศึกษาผลทางสถิติ ได้แก่ ประเมินมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควัน (ลดร้อน) ประเมินอัตราตายของยุง (ลดยุง) ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ประเมินผลการควบคุมโรคในพื้นที่ (ลดโรค) ตามมาตรการ 3-3-1 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานและประชาชนที่ได้รับบริการเพื่อปรับปรุงต่อไป
ผลการศึกษาเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง: ลดร้อน ลดยุง ลดโรค มีดังนี้ 1. ผลการประเมินมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง พบว่าผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์กรมควบคุมโรค ได้แก่ 1)อุณหภูมิความร้อนปลายท่อ 2)อัตราไหลของน้ำยาเคมี 3)ขนาดเม็ดละอองน้ำยา และมีคุณสมบัติอื่นที่โดดเด่นกว่าเครื่องพ่นอื่น ได้แก่ ตัวเครื่องมีความร้อนน้อยกว่ามาก (ลดร้อน) สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงน้อย ราคาถูก น้ำหนักเบาและเสียงไม่ดัง สามารถพ่นสารเคมีได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 2. ผลการประเมินอัตราตายของยุง (ลดยุง) ด้วยวิธี Bio-assay Test ขององค์การอนามัยโลก พบว่ายุงตายทั้งหมดร้อยละ 100 3. ผลการประเมินการควบคุมโรค (ลดโรค) พบว่าสามารถควบคุมโรคได้ไม่มีผู้ป่วยระลอกใหม่เกิดขึ้น 4. ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่าผู้ใช้งานเครื่องพ่นมีความพึงพอใจระดับมาก (ร้อยละ 82.40) และประชาชนมีความพึงพอใจต่อการพ่นสารเคมีระดับมาก (ร้อยละ 80.60)
ได้จัดทำเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง เพื่อให้บริการพ่นสารเคมีกำจัดยุงในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2558 ช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง เนื่องจากยุงพาหะนำโรคถูกกำจัดหมดไปอย่างรวดเร็ว ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อและซ่อมบำรุงเครื่องพ่นหมอกควัน ซึ่งกำลังดำเนินการขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีคู่มือการผลิตเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเผยแพร่ขยายผลให้กับหน่วยงานที่สนใจ
จากปัญหาที่พบในการดำเนินงานเป็นประจำ จึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง ตามแนวคิด “ไทยคิด ไทยทำ ไทยใช้” Start Up อย่างตั้งใจ มีเป้าหมายทุกขั้นตอนและลงมือปฏิบัติจริง ใช้ข้อมูลปัญหาจากผู้ใช้งานและประชาชนผู้รับบริการ ด้วยความร่วมมือและการสนับสนุนจากทีมงานที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ (PDCA) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินมาตรฐานเครื่องพ่น ประเมินความพึงพอใจ แล้วนำข้อมูลมาปรับปรุงพัฒนา เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือสุขภาพที่ดีของประชาชน
1. การดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน 2. พัฒนากระบวนการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ ครบวงจร และยกระดับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3. พัฒนาการให้บริการของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดแมลง การเผยแพร่นวัตกรรมผ่านช่องทางต่างๆ เป็นการสร้างคุณค่าให้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงเพื่อขยายผลอย่างยั่งยืนต่อไป
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา กรมควบคุมโรค ได้สร้างเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง ตามกระบวนการสร้างนวัตกรรม ADDIE Model โดยมีการขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาในปี 2560
ไม่เคย
สัมมนาวิชาการป้องกันควบคุมโรคเครือข่ายสำนักงานป้องกันควบคุมโรคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบาดวิทยาเขตบริ จ.อุบลราชธานี 2560
ไม่เคย