แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนและเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แผลกดทับเกิดจากปัจจัยส่งเสริมทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย ผลกระทบเมื่อเกิดแผลกดทับจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งทำให้ระยะเวลาในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น ปัจจุบันมีการใช้วัสดุในการดูแลผิวหนังผู้ป่วยเพื่อป้องกันแผลกดทับ เช่น วาสลีน, Zinc paste หรือ stomahesive powder แต่ในปัจจุบันพบว่าตัวยาค่อนข้างเหนียว เวลาทำความสะอาดจะเกาะเป็นคราบต้องใช้แรงในการถู ผู้ป่วยอาจเกิดความปวดและรอยแดงได้ แป้งทานาคาเป็นแป้งที่หาง่ายในปัจจุบันและมีราคาค่อนข้างถูก มีส่วนผสมของทานาคา มีสารสำคัญที่ชื่อว่า มาร์มีซิน (Marmesin) ช่วยคงความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อผิวหนัง สามารถนำมาใช้โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์ สอดคล้องกับการศึกษา พบว่า การใช้ทานาคา มีความปลอดภัย และมีประโยชน์ต่อผิว จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาไม่พบงานวิจัยที่นำแป้งทานาคามาใช้ในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจว่าหากมีการนำมาใช้กับผิวหนังบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ จะสามารถป้องกันการเกิดแผลกดทับได้หรือไม่ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชายเป็นหน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะวิกฤต กึ่งวิกฤต ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ จากสถิติข้อมูลย้อนหลังในปี พ.ศ. 2557 และปี พ.ศ. 2558 พบว่า อัตราการเกิดแผลกดทับเท่ากับ 0.4 ครั้งต่อ 1000 วันนอน และ 0.6 ครั้งต่อ 1000 วันนอน ตามลำดับ จากข้อมูลเห็นได้ว่าการเกิดแผลกดทับมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ดังนั้นการเกิดแผลกดทับจึงเป็นปัญหาสำคัญของหน่วยงาน การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยสนใจในการป้องกันการเกิดแผลกดทับระดับ 1 ในผู้สูงอายุ โดยใช้แป้งทานาคาในการดูแลผิวหนังร่วมกับแนวปฏิบัติในการดูแลแผลกดทับของหน่วยงานที่มีอยู่เดิม เพื่อเป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีความกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
เพื่อศึกษาการเกิดแผลกดทับระดับ 1 ในผู้สูงอายุที่ใช้แป้งทานาคา และเปรียบเทียบการเกิดแผลกดทับระดับ 1 ในผู้สูงอายุที่ใช้แป้งทานาคา และไม่ใช้แป้งทานาคา
การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research design) ชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน คือ (1) กลุ่มควบคุมที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลแบบปกติ และ (2) กลุ่มทดลองที่ใช้กิจกรรมการพยาบาลแบบปกติ ร่วมกับการใช้แป้งทานาคา
การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในตัวแปรข้อมูลทั่วไปที่อาจส่งผลต่อการเกิดแผลกดทับในด้านอายุ ดัชนีมวลกาย อุณหภูมิ และคะแนนบราเดนแรกรับ โดยใช้สถิติทดสอบแมน – วิทย์นี่ยู (Mann - Whitney U Test) กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≥.05) และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิก คือการเกิดแผลกดทับระดับ 1 ระหว่างกลุ่มกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติไค-สแควร์ (chi-square) พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≥.05) แต่พบว่าจำนวนอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับลดลง คือ กลุ่มควบคุมเกิดแผลกดทับ จำนวน 4 ราย และกลุ่มทดลองเกิดแผลกดทับ จำนวน 1 ราย
การนำแป้งทานาคามาใช้ในการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับระดับ 1 ในผู้สูงอายุ พบว่ามีแนวโน้มการเกิดแผลกดทับลดลง แต่ควรมีการควบคุมการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เช่น การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ การพยาบาลเพื่อลดแรงกดทับ เพื่อมุ่งเน้นลดแรงกด แรงเสียดสีและแรงดึงรั้ง การดูสภาพผิวหนัง ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย
1. การศึกษาครั้งนี้เป็นลักษณะงาน R2R (routine to research) ต้องอาศัยความร่วมมือของทีมทุกคน แต่เนื่องจากสภาพภาระงานมากในปัจจุบัน จึงไม่ปฏิบัติตามแนวทางอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีมาตรการแก้ไขปัญหา คือ มอบหมายคนรับผิดชอบงานชัดเจน ในการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง 2.การป้องกันการเกิดแผลกดทับ ควรมีการควบคุมการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยอย่างเคร่งครัด
1. ความร่วมมือของบุคคลากรในทีม 2. หัวหน้าหอผู้ป่วยให้การสนับสนุน ให้เวลาในการทำงาน R2R ให้คำแนะนำและคอยชี้แนะ
ไม่เป็น
ไม่เคย
งานประกวดมหกรรมผลงานคุณภาพ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต 2559
V-CQI AWARD ระดับดี โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต 2559