pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การป้องกันและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

งานวิจัยปี

2559

คำสำคัญ

การคลอด พยาธิสภาพ มดลูก ร่างกาย หญิงตั้งครรภ์ หนาว

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การป้องกันควบคุมโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เป็นสาเหตุร้อยละ 75ของการตายและภาวะทุพพลภาพของทารกแรกคลอด การคลอดก่อนกำหนดส่งผลกระทบต่อมารดา ทารก และบุคคลในครอบครัว ทั้ง ทางด้านร่างกายและภาวะวิกฤติด้านจิตใจและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง แม้ว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์เพื่อ ลดปัญหาการคลอดก่อนกำหนด สามารถทำได้มากมาย เช่นการใช้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก การใช้คลื่นความถี่สูงช่วยวินิจฉัยความผิดปกติต่าง ๆ เป็นต้น แต่อุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดยังมีอัตราสูงเพิ่มมากขึ้น ในโรงพยาบาลเรณูนครพบว่าอัตราการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากสถิติปี 2557 -2558 พบอุบัติการณ์การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดดังนี้ ปี 2557 จำนวน 13 ราย ยับยั้งได้สำเร็จ 10 ราย(76.92%) ปี 2558 มี 18 ราย ยับยั้งได้สำเร็จ 14 ราย (77.77%) ส่วนมารดาที่คลอดก่อนกำหนดที่เกินศักยภาพที่โรงพยาบาลเรณูนครไม่สามารถดูแลและต้องส่งต่อในปี 2557 -2558 มี 6 รายเฉลี่ย 3 ราย/ปี ซึ่งการเกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดจาก ทั้งหมด 31 ราย มีสาเหตุดังนี้ 1.มารดาทำงานหนัก ร้อยละ 45.16 (14 ราย) 2.พยาธิสภาพโรคของมารดา ร้อยละ 35.48(11 ราย) 3.การมี SI ร้อยละ 19.35(6ราย) เมื่อทำการทบทวนย้อนหลังพบว่ายังไม่เคยนำลำดับสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมาวิเคราะห์และหาทางแก้ไข

วัตถุประสงค์

เพื่อลดอัตราการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ,สามารถยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดได้สำเร็จและการดูแลและส่งต่ออย่างปลอดภัยในมารดาที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ไม่สามารถยับยั้งได้และในทารกที่คลอดก่อนกำหนด

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบปฏิบัติการ (Action research) ในมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลเรณูนครในช่วง 1ตุลาคม.58 -1 เมษายน59

ผลการศึกษา

ปี2559(1 ตค.58-1 เมย.59) มีหญิงตั้งครรภ์การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 7ราย ยับยั้งได้สำเร็จ 6 ราย(85.71%สาเหตุตามลำดับดังนี้1.มารดาทำงานหนัก2.พยาธิสภาพโรคของมารดา3.การมี SI ส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่าย3รายสามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายอย่างปลอดภัยไม่พบภาวะอันตรายเกิดขึ้นขณะนำส่ง และหลังติดตาม Case ทั้ง 6 ราย ในช่วงระยะ 6.เดือน คลอดปกติครบกำหนดคลอด 2 ราย ทารกปกติน้ำหนักถึงเกณฑ์ทุกราย และอีก 4 รายยังไม่พบมีการเจ็บครรภ์คลอด และไม่มีอาการผิดปกติใดๆ

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

นำแนวทางการปฏิบัติที่ได้จากการทำวิจัยมาพัฒนาและนำมาใช้ในหน้างานปัจจุบันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้รับบริการ

บทเรียนที่ได้รับ

การค้นหาสาเหตุที่เป็นรากเหง้าแท้จริงเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและถึงแม้ว่ามารดาจะได้รับการดูแล อย่างใกล้ชิด และให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลขณะอยู่โรงพยาบาลเป็นอย่างดีจนสามารถควบคุมการคลอดก่อนกำหนดได้ แต่เมื่อจำหน่ายกลับบ้านสามีและบุคคลในครอบครัวมีความสำคัญอย่างยิ่งในแก้ไขปัญหาให้ประสบผลสำเร็จร่วมกับการดูแลอย่างต่อเนื่องของทีมCOC

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

บุคคลาการในหน่วยงานห้องคลอด,ทีมงานสหวิชาชีพ,ทีมงาน coc และหนาวยงานนอกองค์กรเช่น อสม. อบต. ให้ความร่วมมือและความตั้งใจอย่างยิ่งในการทำงานครั้งนี้

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

preterm labour

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

งานประชุมวิชาการสาธารณสุข จ.นครพนม

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
นครพนม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อีสานตอนบน
เขตสุขภาพ
เขตที่ 8
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2559
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย