pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การศึกษาพฤติกรรมในการป้องกันโรคมือเท้าปาก ของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

งานวิจัยปี

2559

คำสำคัญ

การติดเชื้อ โรคมือเท้าปาก การเฝ้าระวัง

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 0 เพิ่งทำวิจัยเสร็จ

ประเด็นวิจัยหลัก

การป้องกันควบคุมโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ปัญหาโรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดเชื้อติดต่อทางสารคัดหลั่ง ส่วนใหญ่พบการติดต่อในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี สถานที่ในการเกิดโรคพบในสถานที่ ที่มีเด็กจำนวนมากอยู่รวมกัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาเหลืองเป็นพื้นที่ ที่ผู้ปกครองนำบุตรหลานมาฝากเลี้ยงไว้ที่ศูนย์เป็นจำนวนมากสถิติข้อมูลการระบาดของโรคมือเท้าปากจังหวัดน่านปี 2555-2557 พบผู้ป่วยจำนวน 430,838,646 รายตามลำดับ คิดเป็นอัตรา 90.36 , 175.69 , 131.75 ต่อแสนประชากร ข้อมูลผู้ป่วยโรคมือเท้าปากตำบลนาเหลือง ย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2554 - 2558 พบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก จำนวน 6 , 18 , 5 , 3 , 2 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 1.88, 5.64, 1.56, 0.94, 0.62 ต่อพันประชากรซึ่งหากผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ขาดพฤติกรรมควบคุมโรคที่ถูกต้องจะทำให้โรคเกิดการระบาดของโรคได้ รวมถึงส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็ก

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาพฤติกรรมการในการป้องกันโรคมือเท้าปาก ของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ระเบียบวิธีวิจัย

กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเด็กที่มีอายุระหว่าง 20 – 64 ปี จำนวน 110 คน และผู้ดูแลเด็กจำนวน 8 คน รวมทั้งหมด 118 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้คือ เดือนตุลาคม 2558 ถึง เดือน ธันวาคม 2558 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็น เพศชาย ร้อยละ 10.2 และ เพศหญิงร้อยละ 89.80 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาเหลือง มีพฤติกรรมการในการป้องกันโรคมือเท้าปาก อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 64.4 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 25.4 และในระดับสูง ร้อยละ 10.2 จากผลการศึกษา พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการในการป้องกันโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง หากไม่มีองค์ความรู้เรื่องโรคมือเท้าปากก็จะทำให้บุตรหลานของตนเองป่วยและยังสามารถแพร่กระจายโรคไปสู่เด็กคนอื่น รวมถึงชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ได้

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

เป็นแนวทางการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากในพื้นที่

บทเรียนที่ได้รับ

จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล การทำงานอย่างเป็นระบบ และการประมวลผลข้อมูลจากการศึกษา ทำให้ได้ผลการศึกษาซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการทำงานและเพื่อพัฒนางานเฝ้าระวังควบคุมโรค ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ผู้นำชุมชน บุคลากรสาธารณสุข และ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเหลือง ที่ทำให้การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

มือเท้าปาก

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
น่าน
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 1
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2559
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย