CMIคือค่าเฉลี่ยน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว(Adjusted Relative Weights)หารด้วยจำนวนผู้ป่วยในทั้งหมดที่จำหน่ายในช่วงเวลาที่กำหนดซึ่งเป็นค่าหนึ่งที่แสดงถึงศักยภาพในการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในโดยโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กปัจจุบันมีค่าCMIอยู่ในช่วง0.40-0.60และค่าเป้าหมาย5ปีอยู่ในช่วง0.70-0.75จากสถิติค่าCMIผู้ป่วยในโรงพยาบาลนาหมื่นปี2556-2557มีค่าอยู่ที่0.56และ0.61ตามลำดับจากการสุ่มเวชระเบียนผู้ป่วยในปี2557จำนวนทั้งหมด30ฉบับมาวิเคราะห์สาเหตุพบว่ามีการสรุปโรคไม่ถูกต้องจำนวน8ฉบับคิดเป็นร้อยละ26.67สรุปไม่ครบถ้วนจำนวน6ฉบับคิดเป็นร้อยละ20การสรุปโรคที่ถูกต้องของแพทย์ผู้รักษาทำให้ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์และค่าน้ำหนักสัมพัทธ์คิดตามวันนอนของผู้ป่วยในมีค่าสูงส่งผลให้ได้รับค่าชดเชยบริการทางการแพทย์สูงตามไปด้วยดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาทีมผู้เกี่ยวข้องให้มีการสรุปโรคที่ถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้ได้ค่าCMIที่สูงขึ้น
เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มค่าCMIผู้ป่วยในโรงพยาบาลนาหมื่น
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action research)โดยทำการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในเดือนพฤษภาคม-กันยายน2558จำนวนทั้งหมด598ฉบับมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้ นำเวชระเบียนที่แพทย์สรุปเสร็จมาcodeให้รหัสโรคในโปรแกรมHos-Xpตรวจสอบดูเวชระเบียนที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์คิดตามวันนอน ที่มีค่า<0.5และ0.5-3.9999มีข้อมูลอะไรบ้างในเวชระเบียนที่แพทย์ยังสรุปไม่ครบถ้วนหรือสรุปไม่ถูกต้อง นำเวชระเบียนที่พบความผิดพลาดที่มีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์คิดตามวันนอนไปทบทวนร่วมกับแพทย์โดยการสื่อสารทางตรงโดยใช้คู่มือการสรุปโรคที่ผ่านมาที่ส่งผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์คิดตามวันนอนที่ผู้ให้รหัสโรคสืบค้นข้อมูลมาได้ เมื่อแพทย์เห็นด้วยกับผู้ให้รหัสโรคแพทย์ก็จะทำการแก้ไขเวชระเบียนดังกล่าว ผู้ให้รหัสโรคนำเวชระเบียนที่แพทย์แก้ไขมาลงในโปรแกรมHos-Xpอีกครั้งหนึ่ง กรณีที่แพทย์ไม่เห็นด้วยผู้ให้รหัสโรคให้รหัสโรคตามข้อมูลเดิมที่แพทย์สรุป
การทบทวนเวชระเบียนจำนวน 598 ฉบับพบความผิดพลาดของเวชระเบียนทั้งหมด 125 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 20.90 โดยมีเวชระเบียนที่ได้รับการแก้ไขจำนวน 105 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 84 โดยจำแนกเป็นการสรุปโรคไม่ถูกต้องจำนวน 16 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 15.24 และสรุปโรคไม่ครบถ้วนจำนวน 89 ฉบับคิดเป็นร้อยละ84.76 ส่งผลต่อค่า CMI ผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี2558(1 ต.ค.57-31 มี.ค.58)ได้เท่ากับ0.58 ในปี2558(1พ.ค.58-30ก.ย.58)ได้เท่ากับ0.66 จากผลการศึกษาจะเห็นว่าการสรุปโรคที่ครบถ้วนและถูกต้อง จะส่งผลต่อค่า CMI ผู้ป่วยในให้เพิ่มขึ้น ทำให้ได้รับค่าชดเชยบริการทางการแพทย์สูงตามไปด้วย
ทีมผู้ให้รหัสโรคทำการตรวจสอบ ค้นหาข้อมูลสำคัญของผู้ป่วยที่ทีมแพทย์ยังไม่ได้บันทึกด้วยความละเอียดรอบคอบและสม่ำเสมอ แล้วนำเวชระเบียนไปให้แพทย์บันทึกส่วนขาด และนำคู่มือการสรุปโรคที่ผ่านมาให้ทีมแพทย์ได้นำมาเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจการสรุปโรคให้ถูกต้องครบถ้วน
ทีมผู้ให้รหัสโรคมีการบันทึกเปรียบเทียบการสรุปโรคและการให้รหัสโรคที่ส่งผลต่อค่า CMI ผู้ป่วยใน ให้กับทีมแพทย์และผู้ให้รหัสโรคที่หมุนเวียนมาปฏิบัติงานได้ศึกษาและเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสรุปโรคและให้รหัสโรคที่ถูกต้องและครบถ้วนต่อไป
ทีมแพทย์และทีมผู้ให้รหัสโรคมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือต้องการค่าCMIที่เหมาะสมและถูกต้องกับข้อมูลของผู้ป่วย ตลอดจนการยอมรับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมแพทย์และทีมผู้ให้รหัสโรค
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย