pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

รูปแบบร้านชำปลอดยาอันตรายสู่เครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

งานวิจัยปี

2559

คำสำคัญ

โรคไข้เลือดออก

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

งานเภสัชกรรม/ทันตกรรม

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ยาเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ ในอดีตการรักษาสุขภาพเป็นเรื่องของปัจเจกชน เมื่อ 30 ปีที่แล้วการคมนาคมค่อนข้างลำบาก สถานบริการสาธารณสุขไม่ครอบคลุม ร้านชำจึงเป็นที่ที่คนในชนบทใช้เป็นสถานที่ที่ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งยา การใช้ยาในสังคมไทยนอกจากปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นและมูลค่าที่เพิ่มขึ้นแล้วนั้นประชาชนในชุมชนยังคงมีพฤติกรรมด้านการบริโภคยาชุดอยู่ และนอกจากนี้คนไทยมีการบริโภคยาเกิน โดยกลุ่มยาที่มีมูลค่าการบริโภคสูง คือ กลุ่มยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะ จากการสำรวจร้านชำในปี 2557 พบผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ด้านยาอันตรายเพียงร้อยละ 45.50 และมีการจำหน่ายยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านถึงร้อยละ 41.9 ทำให้มีความสนใจที่จะดำเนินการแก้ปัญหายาอันตรายในร้านชำในพื้นที่

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ร้านชำในชุมชนปลอดยาอันตราย เกิดความเข้มแข็งยั่งยืนในการควบคุมยาอันตรายโดยเครือข่ายชุมชน

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action research)มี 3ขั้นตอนคือ 1)การวิเคราะห์สถานการณ์ 2)การดำเนินการพัฒนารูปแบบ 3)การประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ ร้านชำในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้าน จำนวน 31 ร้าน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ คบส.1 ของกระทรวงสาธารณสุข และแบบสอบถามของสำนักงานอาหารและยา เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา

การวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่าร้านชำมีการจำหน่ายยาอันตรายประเภท ยาปฏิชีวนะ ยาบรรจุเสร็จ เนื่องจากมีคนไปถามซื้อ จำนวน 13 ร้าน ร้อยละ 41.93 โดยที่ผู้ขายมีความรู้ด้านยาอันตรายพียง ร้อยละ 45.50 และไม่รู้ว่าห้ามขายยาในร้านชำ การพัฒนารูปแบบร้านชำปลอดยาอันตราย โดยการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านชำ อสม. การพัฒนาร้านชำโดยใช้แนวทาง 5 ส.โดยเครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วม ประเมินผลโดยการสำรวจร้านชำร่วมกับ อสม. ประเมินความรู้ของผู้ประกอบการร้านชำ พบว่ามีการจำหน่ายยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านลดลงจากร้อยละ 41.93 เป็น ร้อยละ 9.67 มีความรู้ด้านยาอันตรายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.50 เป็น ร้อยละ 85 การจัดการยาอันตรายในชุมชนโดยเครือข่ายที่เข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนจะก่อให้เกิดความสำเร็จและรับรู้ถึงอันตรายต่อคุณภาพชีวิต ร้านชำมีจิตสำนึกสาธารณะที่ดีย่อมมีโอกาสสำเร็จและเกิดความยั่งยืน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

รูปแบบการพัฒนาร้านชำ ให้ปลอดยาอันตราย สามาถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้กับการพัฒนางานอื่นๆ เช่น การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก มีการขยายแนวทางการพัฒนาร้านชำ โดยกระบวนการ 5ส. ในพื้นที่ รพ.สต. อื่นๆในเขตอำเภอเวียงสา

บทเรียนที่ได้รับ

ความมุ่งมั่นต่อการทำงานในหน้าที่เพื่อแก้ปัญหาหาการดำเนินงาน อย่างเต็มความรู้ ความสามารถ การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในชุมชน ทำให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การให้มีความรู้ และการติดตามที่ต่อเนื่อง ความร่วมมือของเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง การสนับสนุนจากผู้บริหารและเครือข่ายสุขภาพ ทำให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่อง

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
น่าน
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 1
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2559
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย