ปัจจุบันการบันทึกข้อมูลของหน่วยบริการสาธารณสุขในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาใช้โปรแกรม HOSxP ทั้งจังหวัดและมีการลงรหัสวินิจฉัยโดยมีหนังสือ ICD 10 TM เป็นแนวทางแต่เนื้อหารายละเอียดในหนังสือค่อนข้างยากทำให้การสื่อสารถึงวิธีการลงรหัสวินิจฉัยไม่สะดวก ไม่ถูกต้องและใช้เวลานาน ทำให้การบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วยและการให้รหัสโรคไม่สอดคล้องกัน ซึ่งพบว่าแต่ละเดือนมีการลงรหัสข้อมูลไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงจัดทำปฏิทินตั้งโต๊ะลงรหัสวินิจฉัย ICD 10 ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงข้อมูลและเพื่อให้เกิดความถูกต้องใกล้เคียงกับสภาพความจริงของผู้รับบริการมากที่สุดรวมทั้งให้เป็นไปในทางเดียวกัน
๑. เพื่อพัฒนาสื่อในการบันทึกรหัสวินิจฉัย ICD 10 ในโปรแกรม HOSxP ๒. เพื่อสามารถลงข้อมูลได้อย่างถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองระยะเตรียมการวิเคราะห์สภาพปัญหาศึกษาหลักเกณฑ์การบันทึกข้อมูลรหัสวินิจฉัย ICD 10ระยะปฏิบัติการค้นหารหัสโรคจากคู่มือ ICD 10และสืบค้นจากอินเทอร์เน็ตและนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อสรุปวิเคราะห์และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการเพื่อเป็นแนวทางในการการประดิษฐ์ปฏิทินตั้งโต๊ะลงรหัสวินิจฉัยICD10พร้อมลงรหัสโรคตามปฏิทินในแต่ละเดือนจำนวน๑๒เดือนโดยแบ่งตามระบบต่างๆของร่างกายเพื่อง่ายต่อการค้นหา อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ประกอบด้วยทำปฏิทินโดยใช้โปรแกรม Ms Excell กระดาษอาร์ท กระดาษแข็ง สำหรับฐานปฏิทินหรือใช้ปฏิทินตั้งโต๊ะที่ไม่ได้ใช้นำมาใช้ใหม่ได้ระยะประเมินผล ทดลองใช้งานกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการและในระดับอำเภอ ปรับปรุงตามข้อผิดพลาดและเพิ่มเติมตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ประเมินการใช้งานโดยการทดสอบจับเวลาในการค้นหารหัสวินิจฉัยICD10
ผลการดำเนินงานเชิงปริมาณมีปฏิทิน ICD 10 สำเร็จรูป จำนวน ๑ ชุด ผลการดำเนินงานเชิงคุณภาพ ผลการใช้งานของบุคลากรทั้งอำเภอ(โดยการใช้งานจากเจ้าหน้าที่ ๓๐ คนๆ ละ ๑๐ ครั้ง คละรหัส/ระบบโรค )ปฏิทิน ICD 10 สามารถใช้งานได้ทั้งลงรหัสข้อมูลและดูปฏิทินไปพร้อมกัน ความถูกต้องในการลงรหัส ๑๐๐ % ใช้เวลาในการค้นหา ๑๕ วินาทีต่อรหัสโรค จากการใช้ตามแบบหนังสือใช้เวลาเฉลี่ย ๓ นาทีต่อรหัสโรค เป็นการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพด้านเทคโนโลโนยีและสารสนเทศ สามารถใช้งานได้ในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ลงข้อมูลรหัสโรคในโปรแกรม HOSxP PCU ได้อย่างถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว
นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งสามารถใช้งานได้กับทุกหน่วยบริการที่ลงข้อมูลรหัสโรคในโปรแกรม HOSxP PCU หรือ HOSxP (และมีความประสงค์ใช้งาน) โดยใช้ในลงรหัสข้อมูลได้อย่างถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว
ได้พัฒนาศึกษาทดลองในงานประจำที่ทำทุกวัน สามารถนำวัสดุที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น
ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานทั้งในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน การสนับสนุนจากผู้บริหารอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย