pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนาระบบ Re- Sterile หน่วยงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว

งานวิจัยปี

2559

คำสำคัญ

การให้บริการ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การป้องกันควบคุมโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

งานบริการหน่วยจ่ายกลาง มีพันธกิจหลักคือ การให้บริการ การทำให้ปราศจากเชื้อ อุปกรณ์ทางการแพทย์ สถิติการให้บริการย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2556 มีการทำให้ปราศจากเชื้อใหม่ (Re-Sterile) ทั้งหมด 3,753 ชิ้น ปี พ.ศ. 2557 จำนวน 8,203 ชิ้น ปี พ.ศ. 2558 จำนวน 7,458 ชิ้น ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น จากการวิเคราะห์จุดอ่อน พบของ Re-Sterile จากหน่วยงานส่งมาจำนวนมากขึ้น ข้อมูลในการลงสถิติไม่ตรงกับความเป็นจริง อีกทั้งแบบฟอร์มการลงสถิติของRe-Sterile ไม่ชัดเจน และ หน่วยงานต่างๆ ที่มาใช้บริการ Re-Sterile ไม่มีการตรวจเช็คของ Re-Sterile เช่น ขาดการตรวจของก่อนหมดอายุ ให้นำมาใช้งานก่อน ส่งผลให้ จำนวนของที่มาใช้บริการ Re-Sterile ในอัตราที่สูงขึ้น กระทบถึงค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ดังนั้น หน่วยงานจ่ายกลางจึงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงพัฒนาระบบ Re- Sterile

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาระบบ Re- Sterile หน่วยงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะดำเนินการพัฒนา และ ระยะประเมินผล 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ผู้ปฎิบัติงานของ Re- Sterile ของเจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย งานหน่วยจ่ายกลาง 9 คน และ ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย 2 คน ณ .จุดรับของ Re- Sterile และการสะท้อนข้อมูลจากผู้ใช้บริการส่งของ Re- Sterile 2) ระยะดำเนินการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ระยะประเมินผล การสอบถาม โดยใช้แบบฟอร์ม แนวทางการบันทึกส่ง –รับ ของ Re- Sterile ประจำเดือน ของแต่ละหน่วยงาน ทั้งหมด 11

ผลการศึกษา

จากเดิมขาดระบบ Re- Sterile หน่วยงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดระบบ คือ มีฐานข้อมูลการส่งของ Re- Sterile ทุกเดือน ข้อมูลของ Re- Sterile ไม่เกิดการสูญหาย สถิติของ Re- Sterile ปี พ.ศ 2559 (ตค.-มค.59) จำนวน 1,832 ชิ้นและมีแนวโน้มลดลง อาจจะส่งผลให้ค่าใช้จ่าย ลดลง

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

การพัฒนาระบบ Re- Sterile หน่วยงานจ่ายกลาง จำเป็นต้องมีพยาบาลวิชาชีพชำนาญการเป็น ผู้บริหารจัดการพัฒนาระบบ โดยพัฒนาแบบฟอร์มการบันทึกของ Re- Sterile โดยใช้แก้ปัญหาจากงานประจำที่ขาดการบันทึก ของ สะดวกใช้ ง่ายขึ้น สามารถนำเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานอื่นๆ ของ Re- Sterile องค์กร

บทเรียนที่ได้รับ

1. พยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานได้เห็นความสำคัญระบบ Fist in Fist outของ หน่วยงาน 2.ปรับการลงบันทึกข้อมูลส่งของRe-sterile.ให้เป็นระบบทำให้การลงบันทึกง่ายขึ้น 3. ทีมงานให้ความร่วมมือในการปฎิบัติงาน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การได้รับความร่วมมือทั้งจากทุกหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่งานหน่วยจ่ายการ หัวหน้างานให้การสนับสนุน เป็นอย่างดี ส่งผลให้การพัฒนา ประสบผลสำเร้จ

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
น่าน
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 1
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2559
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : ดร.ไพจิตรา ล้อสกุลทอง (painoiy@hotmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย