กรมการแพทย์แผนไทยสนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคคู่กับยาแผนปัจจุบันโดยให้มีรายการยาสมุนไพรจำนวน71รายการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติจนถึงขั้นใช้ทดแทนเพื่อลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันซึ่งสสจ.แพร่ไม่เคยมีการนำนโยบายดังกล่าวสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนอันส่งผลต่อการปฏิบัติงานเช่นระบบการกระจายยาสมุนไพรให้กับพื้นที่การสั่งจ่ายยาสมุนไพรให้ถูกกับโรคการยอมรับของผู้รับบริการ หรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาสมุนไพรทำให้ยังมูลค่าใช้ยาสมุนไพรต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยในปี 2556 พบว่า จังหวัดแพร่มีมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรต่อมูลค่าการใช้ยาทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ0.61 (เป้าหมายร้อยละ 5)ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้มีการนำตัวแบบเชิงบูรณาการในการนำนโยบายการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันของรพ.สต.ในจังหวัดแพร่สู่การปฏิบัติซึ่งเชื่อว่าจะสามารถทำให้เหมาะสมกับบริบทสภาพการณ์ขององค์กรและเกิดประสิทธิภาพ
1.เพื่อออกแบบวิธีการนำนโยบายการใช้ยาสมุนไพรของรพ.สต.ในจ.แพร่สู่การปฏิบัติโดยใช้ตัวแบบเชิงบูรณาการ 2.เพื่อประเมินประสิทธิภาพการนำนโยบายการใช้ยาสมุนไพรของรพ.สต.ในจ.แพร่สู่การปฏิบัติตามตัวแบบเชิงบูรณาการ
การศึกษาประสิทธิภาพการนำนโยบายการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันของรพ.สต. ในจังหวัดแพร่สู่การปฏิบัติตามตัวแบบเชิงบูรณาการ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ศึกษา กระบวนการ และขั้นตอนการนำนโยบบายในการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันของรพ.สต. ในจังหวัดแพร่สู่การปฏิบัติ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) และ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 119 แห่ง ในจังหวัดแพร่ และ โรงพยาบาลชุมชนที่มีการผลิตยาสมุนไพรจำนวน 2แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสอง และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย
การนำนโยบายการใช้ยาสมุนไพรจังหวัดแพร่สู่การปฏิบัติเชิงบูรณาการแบ่งเป็น2Loop1)ขั้นPlanสนทนากลุ่มหาแนวทางร่วมขั้นActจังหวัดประกาศนโยบายการใช้สมุนไพร6รายการกำหนดวงเงินให้รพ.สอง/รพร.เด่นชัยผลิตสมุนไพรและเบิกจ่ายมูลค่า2ล้านบาทให้รพช.กระจายให้รพ.สต.เบิกจ่ายโดยกำหนดยอดการเบิกตามหัวประชากรขั้นObserveจังหวัดเก็บข้อมูลทุกเดือนซึ่งพบว่ามีการจ่ายสมุนไพร1,251,765บาทต่ำ(0.74%ของมูลค่าการใช้สมุนไพรต่อมูลค่าการใช้ยาทั้งหมด)ขั้นReflectจังหวัดคืนข้อมูลให้รพช./รพ.สต.รายการสมุนไพรไม่ครอบคลุมการรักษาโรคที่เป็นปัญหานำสู่การพัฒนานโยบาย2)มี4ขั้นเหมือนLoop1โดยการวางแผนใช้กระบวนการกลุ่มมีนโยบายเพิ่มรายการสมุนไพรเป็น35รายการพบว่ามูลค่าการเบิกจ่ายสมุนไพร3,550,584บาทสูงกว่าเป้าหมาย(1.05%) การวิเคราะห์ปัจจัยการนำนโยบายสู่การปฏิบัติแบบบูรณาการได้แก่ปัจจัยด้านบุคคลเงินทุนวัตถุดิบสมรรถนะองค์กรทำให้เกิดประสิทธิภาพ
กำหนดเป็นแนวทางในการสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันของโรงพยาบาลชุมชนและรพ.สต.ทุกแห่งในจังหวัดแพร่
การกำหนดนโยบายสู่การปฏิบัติจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ด้านต่างๆอย่างบูรณาการ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล(ประชากร) ด้านเงินทุน ด้านวัตถุดิบและด้านสมรรถนะองค์กร(บทบาท หน้าที่ ภารกิจขององค์กร ศักยภาพบุคลากร)
การประกาศนโยบายที่ชัดเจนจากผู้บริหารและมีการกำกับติดตามรวมถึงการกำหนดนโนยบายโดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อศึกษาการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ อีกทั้งการวิเคราะห์ปัญหาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดวงจรของการพัฒนานโยบาย การดำเนินงานตามนโยบายจึงเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย