pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

เปรียบเทียบความแม่นยำของการคาดคะเน น้ำหนักทารกแรกเกิดจากการวัดด้วยวิธี Leopold's maneuver กับสูตร Johnson

งานวิจัยปี

2558

คำสำคัญ

การคลอด การตรวจร่างกาย การประเมิน หญิงตั้งครรภ์ การให้บริการ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การป้องกันควบคุมโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

จากการพบปัญหาในงานประจำและการพัฒนางานประจำ

วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำของการคาดคะเน น้ำหนักทารกแรกเกิดจากการวัดด้วยวิธีLeopold's maneuver กับสูตร Johnson

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยแบบพรรณนากลุ่มตัวอย่างได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชพจน์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 มีนาคม 2558 จำนวนทั้งหมด 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สอบถาม แบบบันทึกประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป การตรวจร่างกาย แบบบันทึกน้ำหนักทารกแรกเกิดจากการวัดด้วยวิธีLeopold's maneuver กับสูตร Johnson และน้ำหนักจริงของทารกแรกเกิดที่ได้จากการชั่งน้ำหนักทารกจากตาชั่งน้ำหนักซึ่งผ่านการทดสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถาม ระหว่างวันที่1 มกราคม 2558 ถึง 31 มีนาคม 2558วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมาน ได้แก่Paired t test

ผลการศึกษา

เปรียบเทียบความแม่นยำของการคาดคะเนน้ำหนักทารกแรกเกิดจากการวัดด้วยวิธี Leopold's maneuver กับสูตร Johnson พบว่าน้ำหนักเฉลี่ยของทารกแรกเกิดจากการคาดคะเนด้วยสูตร Johnsonเท่ากับ 3782.7 มากกว่าน้ำหนักเฉลี่ยของทารกแรกเกิดจากการคาดคะเนด้วยวิธี Leopold's maneuverเท่ากับ 2936.4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เปรียบเทียบความแม่นยำของการคาดคะเนน้ำหนักทารกแรกเกิดจากการวัดด้วยสูตร Johnson กับการวัดน้ำหนักทารกแรกเกิดจากตาชั่งน้ำหนัก พบว่าน้ำหนักเฉลี่ยของทารกแรกเกิดจากการคาดคะเนด้วยสูตร Johnsonเท่ากับ 3782.7 มากกว่าน้ำหนักเฉลี่ยของทารกแรกเกิดจากน้ำหนักจริงทารกที่วัดจากตาชั่งน้ำหนักเท่ากับ 3038.6 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เปรียบเทียบความแม่นยำของการคาดคะเนน้ำหนักทารกแรกเกิดจากการวัดด้วยวิธีLeopold's maneuverกับการวัดน้ำหนักทารกแรกเกิดจากตาชั่งน้ำหนัก พบว่าน้ำหนักเฉลี่ยของทารกแรกเกิดจากการคาดคะเนด้วยวิธีLeopold's maneuverเท่ากับ 2936.4 และน้ำหนักเฉลี่ยของทารกแรกเกิดจากน้ำหนักจริงทารกที่วัดจากตาชั่งน้ำหนักเท่ากับ 3038.6 ไม่มีความแตกต่างกัน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ควรกำหนดระยะของการคลอดลงในการเก็บข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางเดียวกันและความน่าเชื่อถือของการวิจัยและความแม่นยำยิ่งขึ้นและพยาบาลห้องคลอดที่เก็บข้อมูล ควรเป็นพยาบาลมีประสบการณ์ในการทำงานให้ห้องคลอดอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการประเมินทารกโดยวิธี Leopold's maneuver

บทเรียนที่ได้รับ

ผู้ป่วยมีปัญหาด้านสุขภาพลดลง เจ้าหน้าที่พบวิธีการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่ สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตรงจุดตามสภาพปัญหา

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานให้บริการผู้ป่วย การได้รับการสนับสนุนจากองค์กร

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
บุรีรัมย์
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R นครชัยบุรินทร์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 9
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • 2000
เผยแพร่เมื่อ
2558
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : นางสาวเพลินพิศ ศิริรางค์กูร (npp_190753@hotmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย