pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนาสูตรอาหารปั่นผสม “นครพนม”

งานวิจัยปี

2558

คำสำคัญ

ตา ระบบทางเดินอาหาร ร่างกาย โภชนาการ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท บริการ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การสนับสนุนบริการ ธุรการ,IT,ห้อง Lab,x-ray อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ในภาวะที่ร่างกายขาดพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นจากโรคหรือภาวะต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารตามความต้องการอย่างเหมาะสมก็คือ“อาหาร”แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถรับอาหารได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันการบำบัดโรค อาหารที่ให้ทางสายให้อาหารแบ่งตามประเภทของสูตรอาหารได้2ประเภทคือ1.สูตรอาหารที่เตรียมขึ้นภายในโรงพยาบาล2.อาหารทางการแพทย์ จากสถิติการใช้อาหารทางการแพทย์ในปีงบประมาณ2556 พบว่ามีค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออาหารทางการแพทย์469,687บาทและในปี 2557เป็นเงิน557,256บาททางกลุ่มงานโภชนศาสตร์จึงเล็งเห็นแนวโน้มของค่าใช้จ่ายอาหารทางแพทย์ที่สูงขึ้น จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาสูตรอาหารปั่นผสมให้เป็นมาตรฐานของโรงพยาบาลและลดภาระค่าใช้จ่ายจากการซื้ออาหารทางการแพทย์ลง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาสูตรอาหารปั่นผสม “นครพนม” 2. เพื่อลดต้นทุนการใช้ อาหารทางการแพทย์ในหน่วยงาน 3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อการใช้อาหารปั่นผสม “นครพนม”

ระเบียบวิธีวิจัย

พัฒนาสูตรอาหารปั่นผสม “นครพนม” โดยใช้โปรแกรมการคำนวณอาหารปั่นผสมของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯโดยอ้างอิงจากพลังงานสารอาหารที่ร่างกายต้องการต่อวัน Thai DRI ซึ่งอาหารสูตรนี้ใช้วัตถุดิบจากอาหารหลัก 5 หมู่ และทดลองลงมือปฏิบัติตามกระบวนการ ดังนี้ 1.จัดซื้อและตรวจรับวัตถุดิบ 2.คัดเลือกวัตถุดิบเพื่อเตรียมประกอบอาหารปั่นผสม เช่น ฟักทอง เนื้อไก่ 3.เตรียมวัตถุดิบ ปลอกเปลือกฟักทอง และหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เตรียมข้าวสารและหุงให้สุก เตรียมเนื้อไก่ 4.ชั่งตวงวัตถุดิบที่ได้ตามสัดส่วนที่นักโภชนาการกำหนด5.นำวัตถุดิบที่ผ่านการชั่งตวงแล้วมาต้มให้สุก6.ปั่นส่วนผสมที่ได้ให้ละเอียดและกรองด้วยกระชอนตาถี่7.กรอกอาหารที่ได้ในถุงตามปริมาณที่แพทย์กำหนด เก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อการใช้อาหารปั่นผสม“นครพนม”โดยทำการเก็บข้อมูลในพยาบาลผู้ใช้งานและญาติผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครพนมจำนวน 6 ตึก

ผลการศึกษา

หลังจากพัฒนาและปรับปรุงสูตรอาหารปั่นผสม“นครพนม”ใน1,000 ซีซีให้พลังงาน1,000กิโลแคลอรีเมื่อนำอาหารปั่นผสมทั้ง 2 สูตรมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการ จะพบว่าในอาหารปั่นผสม“นครพนม”มีการกระจายตัวของโปรตีนและเส้นใยอาหารมากกว่าในอาหารทางการแพทย์ เมื่อนำอาหารปั่นผสมสูตรเดิมและอาหารปั่นผสม“นครพนม”มาคิดต้นทุนทางอาหารจะพบว่า ต้นทุนอาหารทางการแพทย์ในปริมาณ 1,000 ซีซี คิดเป็นเงิน 59.94 บาท ต้นทุนทางอาหารปั่นผสม “นครพนม” เมื่อนำมาคำนวณแล้วพบว่า มีต้นทุนอาหารในปริมาณ 1,000 ซีซี คิดเป็นเงิน 42.18 บาท จาการเก็บข้อมูลแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานอาหารปั่นผสม “นครพนม” สำรวจในกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นพยาบาล พบว่าอายุการเก็บรักษาและความสะดวกของการใช้งานมากที่สุดร้อยละ83.04และความพึงพอใจต่ออัตราการไหลของอาหารปั่นผสม“นครพนม”น้อยที่สุด ร้อยละ 64.29

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

หลังจากมีการพัฒนาสูตรอาหารปั่นผสม“นครพนม”และเริ่มใช้งานจริงตั้งแต่เดือนตุลาคม2558 – ปัจจุบัน โดยให้ในผู้ป่วยที่รับอาหารปั่นผสมที่ความเข้มข้น 1:1(ซีซี: กิโลแคลอรี)ส่วนในผู้ป่วยที่รับอาหารปั่นผสมที่ความเข้มข้นสูงกว่านี้ จะให้อาหารทางการแพทย์เหมือนเดิม

บทเรียนที่ได้รับ

จากการพัฒนาและปรับปรุงสูตรอาหารปั่นผสม“นครพนม”พบว่าข้อดีของอาหารทางสายให้อาหารสูตรปั่นผสม คือ เป็นอาหารที่สามารถเตรียมได้เองมีราคาถูกและนักโภชนาการสามารถควบคุมการกระจายตัวของพลังงานในอาหารปั่นผสมให้ได้ตามคำสั่งแพทย์ข้อเสียคืออาจใช้เวลาในการเตรียมนานเมื่อเตรียมเสร็จจะต้องใช้อาหารให้หมดภายใน24ชั่วโมงและไม่มีค่าออสโมลาลิตี้ที่แน่นอน อาหารตกตะกอนได้ง่าย ความหนืดของอาหารไม่สม่ำเสมอ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

จากข้อมูลที่ได้จากการพัฒนาสูตรอาหารปั่นผสม "นครพนม"สามารถนำมาปรับใช้และพัฒนาสูตรอาหารให้เหมาะสม และเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการเก็บข้อมูลการใช้อาหารปั่นผสมเพื่อลดภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยเป็นแนวทางในการพัฒนาสูตรอาหารปั่นผสมเพื่อลดความหนืดของอาหารและให้คุณค่าทางโภชนาการตามที่ร่างกายต้องการ

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
นครพนม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อีสานตอนบน
เขตสุขภาพ
เขตที่ 8
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2558
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย