pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การศึกษาประสิทธิภาพการรับแจ้งเหตุและประสานหน่วยปฏิบัติการในระบบบริหารการแพทย์ฉุกเฉินหน่วยกู้ชีพอยุธยาโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

งานวิจัยปี

2558

คำสำคัญ

พิการ อุบัติเหตุ ให้ความรู้

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ตติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 3 นำไปใช้ได้หลายแห่งในจังหวัดเดียวกันแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การบริหาร/พัฒนาระบบ/เศรษฐศาสตร์/นโยบาย

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

สถานการณ์ของการเจ็บป่วยฉุกเฉินเกิดขึ้นในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั้งจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องทันท่วงที อาจทำให้เกิดการพิการและการสูญเสียต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ฉุกเฉินสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุและสั่งการของหน่วยบริการ การแพทย์ฉุกเฉินไม่ได้อยู่ที่เกิดเหตุจึงไม่สามารถประเมินอาการของผู้ป่วยได้ จึงมีระบบบริการรับแจ้งเหตุและสั่งการเพื่อประเมินสถานการณ์ และอาการของผู้ป่วยเพื่อส่งชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของผู้ป่วย และมีการสื่อสารประสานงานระหว่างศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการกับหน่วยปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพเพื่อการช่วยเหลือที่ถูกต้องของผู้ป่วย และผู้ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการรับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ,เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนา ทักษะการรับเหตุและสั่งการของเจ้าหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด พระนครศรีอยุธยา

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective descriptive research)ศึกษาประสิทธิภาพการรับแจ้งเหตุและประสานหน่วยปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เครื่องมือจากแบบบันทึกการรับแจ้งเหตุและสั่งการ และแบบบันทึกการปฏิบัติการชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ และและแบบตรวจประเมินคุณภาพและตรวจสอบชดเชยค่าบริการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เก็บข้อมูลการรับแจ้งเหตุและสั่งการย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 – 31ตุลาคม 2557จำนวน 400 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกับมาตรฐานการรับแจ้งเหตุและสั่งการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่าความชัดเจนในการบันทึกใบรับแจ้งเหตุ เริ่มตั้งแต่การบันทึกข้อมูลผู้แจ้งเหตุ ลงบันทึกอาการ ประเมินระดับความรุนแรง การกำหนดชุดปฏิบัติการความเหมาะสมและความจำเป็นในการเรียกใช้บริการ ความสอดคล้องของรหัส IDC (incident dispatch code)กับรหัส RC(Response code)รวมถึงความครบถ้วนของแบบบันทึกมีความชัดเจนมากกว่าร้อยละ เวลารับแจ้งเหตุจนถึงจุดเกิดเหตุ ≤8นาที ทำได้เพียงร้อยละ 56 ส่วนใหญ่เกิดจากความล่าช้าในการเข้าถึงบ้านผู้ป่วย ข้อมูลไม่ชัดเจนไม่เพียงพอ ญาติไม่ออกมารอเรียกรถพยาบาล ระยะทางในการออกรับผู้ป่วยมากกว่า 8กม.ด้านความชัดเจนและครบถ้วนของแบบบันทึกมีความชัดเจนมากกว่าร้อยละ 90 ประสิทธิภาพในการรับแจ้งเหตุและประสานหน่วยปฏิบัติการสอดคล้องกับข้อมูลการรับแจ้งเหตุร้อยละ 87 ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีเพียงร้อยละ 4 ที่มีการลงบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน ซึ่งต้องทบทวนการลงบันทึกเพื่อพัฒนาต่อไป

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาการรับแจ้งเหตุ สั่งการและประสานหน่วยปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

บทเรียนที่ได้รับ

การรับแจ้งเหตุ สั่งการ และการประสานหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ ควรมีการตรวจสอบประสิทธิภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การรับแจ้งเหตุ สั่งการทำได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย และลดความขัดแย้งระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน หรือกับผู้ใช้บริการและผู้แจ้งเหตุด้วย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ การมีส่วนร่วม ความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่ในการพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 4
ภูมิภาค
ภาคกลาง

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2558
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย