เด็กไทยมีแนวโน้มที่จะมีระดับเชาว์ปัญญาลดลง จากข้อมูล พ.ศ. 2544 พบว่า เด็กวัยเรียนอายุ 6-12ปีมีระดับเชาว์ปัญญาเฉลี่ย 88.1 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐาน (โดยปกติควรมีค่าเฉลี่ย 100) การสำรวจพัฒนาการปกติเด็กปฐมวัย ของกรมอนามัย พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย กว่าร้อยละ 30 (2547) อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จากการสำรวจ ปี พ.ศ. 2556 เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการไม่สมวัยร้อยละ 29.0 และ ผลการประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีของรพ.สต.บ้านโสกปี พบว่าเด็กกลุ่มดังกล่าว มีพัฒนาการไม่สมวัยร้อยละ 22.9 จากข้อมูลที่พบมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการของของเด็กก่อนวัยเรียนให้มีพัฒนาการที่สมวัยตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ผู้วิจัยจึงได้ศึกษารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ดังกล่าว
เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ตำบลบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ จำนวน 35 คน ซึ่งเป็นเครือข่ายในพื้นที่จะเป็นแกนนำตามธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการวางแผน การดำเนินงานตามแผน การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเครื่องที่สร้างขึ้น และ การสนทนากลุ่ม รวมทั้งประยุกต์แบบวัดการมีส่วนร่วมการทวนสอบข้อมูลโดยการประชุมแลกเปลี่ยนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ และอัตราส่วน การวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในครั้งนี้มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม 2) ดำเนินโครงการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3) การติดตามในระหว่างดำเนินงาน 4) การประเมินผลพัฒนาการของเด็ก 5) การคืนข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมาย ผลของกระบวนการดำเนินงานดังกล่าวส่งให้เกิดผลให้ กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและพึงพอใจในการดำเนินงานร่วมกันมากขึ้น ผู้นำในพื้นที่ให้ความสำคัญ และหน่วยงานได้ค้นพบวิธีการทำงานกับภาคีเครือข่ายที่เหมาะสม
ทำให้ผู้วิจัยได้เรียนรู้กระบวนการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อการส่งเสริมพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ และสามารถขยายผลให้เต็มเกิดการดำเนินในพื้นที่ตำบลบ้านโสกทั้งตำบล
การทำงานระดับพื้นที่อาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การประสานงานทุกระดับ การสื่อสารข้อมูลต่างๆให้ทุกฝ่ายได้รับรู้ ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในพื้นที่ ให้งานประสบผลความสำเร็จ
บริบทของตำบลบ้านโสกมีภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานที่เข็มแข็ง ผู้นำในพื้นที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ของประชาชน และ มีเพื่อนร่วมงานที่เก่ง ขยัน มีความรับผิดชอบในงานบริการประชาชนที่ครอบคลุมทั้งด้าน กาย จิตใจ สังคมและชุมชน
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย