pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ประสิทธิผลการใช้ MEWS (SOS Score )ต่อภาวะอาการเลวลงในผู้ป่วยอายุรกรรมชายชั้น 5 โรงพยาบาลอุดรธานี

งานวิจัยปี

2558

คำสำคัญ

การประเมิน การเฝ้าระวัง ปัสสาวะ พยาธิสภาพ สับสน

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท บริหาร

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การบริหาร/พัฒนาระบบ/เศรษฐศาสตร์/นโยบาย

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ที่มา ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ล้วนแต่มีอาการไม่คงที่ ประกอบกับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น อาจเกิดการดูแลไม่ครอบคลุม และการประเมินเมื่อมีอาภาวะอาการเปลี่ยนแปลงไม่ทันท่วงที ทำให้รายงานแพทย์ล่าช้าเกิดภาวะUnplaned ICU และอาจส่งผลทำให้เกิดการเสียชีวิตในรายที่ไม่ควรเกิดโรงพยาบาลอุดรธานีปี พ.ศ. 2553พบว่าเกิดภาวะ unplanned ICU 62รายและผู้ป่วยที่มีอาการเลวลงไม่มีการให้ Intervention ในเวลาที่เหมาะสม 12 ราย จึงมีการจัดตั้งทีมเฝ้าระวัง (MRRT) และได้มีการศึกษาผลการใช้แนวทางปฏิบัติทีมเฝ้าระวัง (MRRT) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะอาการของผู้ป่วยที่เข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน พบว่าหลังใช้แนวทางปฏิบัติทีมเฝ้าระวัง (MRRT) ผู้ป่วยที่เข้าสู่ภาวะฉุกเฉินมีภาวะอาการดีขึ้นร้อยละ 87 จากการศึกษาดังกล่าวยังได้พบว่าแนวทางปฏิบัติทีมเฝ้าระวัง (MRRT)ที่มีอยู่ขาดความละเอียด/ไวพอที่จะสามารถ Detect ผู้ป่วยได้ตั้งแต่เนิ่นๆจึงได้ศึกษาหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว พบว่าอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ (Early warning sign) อยู่ในขั้นตอนการเฝ้าระวังและรับรู้อาการที่เป็นอันตราย สามารถนำไปปรับใช้ช่วยในการตัดสินใจในการประเมินผู้ป่วยว่าต้องการการช่วยเหลือระดับใด ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดนำ MEWS (SOS Score) ไปปรับใช้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 5 น่าจะมีผลทำให้ประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อวิเคราะห์ผลการใช้แนวปฏิบัติ MEWS (SOS Score) ต่อภาวะอาการของผู้ป่วย ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายชั้น 5 โรงพยาบาลอุดรธานี 2. เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง กิจกรรมการพยาบาลหลังมีอาการเตือนและ MEWS (SOS Score) Criteria กับภาวะอาการของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายชั้น 5 โรงพยาบาลอุดรธานี

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์(Analytical Studyกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ชั้น5 โรงพยาบาลอุดรธานีโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ผู้ป่วยจำนวน 100 คน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2557 ถึง 1 พฤษภาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ได้แก่ การวิเคราะห์ไคส์แควร์(Chi-square test)

ผลการศึกษา

ผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่าง มีภาวะอาการดีขึ้น ร้อยละ ๙๕ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง กิจกรรมการพยาบาลหลังมีอาการเตือนและ MEWS (SOS Score) Criteria กับภาวะอาการของผู้ป่วยพบว่า SOS Score,ระยะเวลาที่พยาบาลประเมินผู้ป่วยและรายงานแพทย์,การบันทึกปริมาณปัสสาวะ และความดันโลหิต(ค่าบน)มีความสัมพันธ์ภาวะอาการของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์ภาวะอาการของผู้ป่วย

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

1.เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติตามแนวแนวปฏิบัติ MEWS (SOS Score) 2.ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ทันต่ออาการและอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงตามพยาธิสภาพของโรคและได้รับการตอบสนองอย่างงตื่นตัว มีความสนใจ ไม่ละเลยต่ออาการแสดงนั้น จากผู้ดูแล 3.กลุ่มผู้ป่วยที่พบข้อบ่งชี้ว่ามี SOS Score มากกว่าหรือเท่ากับ 4 หรือความดันโลหิต(ค่าบน) ≤90 หรือความรู้สึกตัว สับสน จะต้องได้รับการประเมินและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นเดียวกับผู้ป่วยวิกฤติและพยาบาลต้องประเมินผู้ป่วยและรายงานแพทย์ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมและมีการบันทึกปริมาณปัสสาวะตามข้อบ่งชี้

บทเรียนที่ได้รับ

ได้เรียนรู้กระบวนการทำโครงการวิจัย ได้เรียนรู้ ค้นหาปัญหาที่หน้างาน ศึกษาองค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence-based) นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหน้างานและสามารถสร้างผลงานที่นำมาวิเคราะห์แล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความตั้งใจและทุ่มเท การทำงานเป็นทีม คือปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยเน้นให้มีการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ(Multidisciplinary)โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง(Patient Centered)

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
อุดรธานี
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อีสานตอนบน
เขตสุขภาพ
เขตที่ 8
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • 4000
เผยแพร่เมื่อ
2558
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย