โรงพยาบาลโกสุมพิสัยเป็นโรงพยาบาลชุมชน 120 เตียงให้บริการด้านสูติกรรมตั้งแต่ระยะเจ็บครรภ์คลอด ระยะคลอดและหลังคลอด จากรายงานปี 2556 มีผู้คลอด 452 ราย มี ภาวะ Prolong active Phase 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.94 ซึ่งเกิดจากหลายๆสาเหตุ จากการสังเกตพบว่า ความเจ็บปวด ความวิตกกังวลและความกลัว ทำให้เกิดความผิดปกติของการดำเนินการคลอดในแต่ละระยะได้ ดังนั้นงานห้องคลอดจึงพัฒนาวิธีการลดความเจ็บปวดในระยะรอคลอด โดยทดลองใช้ (try out) ลูกประคบสมุนไพรประคบร้อนเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดให้ผู้คลอด จำนวน 36 คน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2556พบว่า ผู้คลอดมีความพึงพอใจเป็นร้อยละ 80.56 pain score ลดลง 2 คะแนนจากการทดลองใช้ดังกล่าวทีมวิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการประคบร้อนด้วยลูกประคบสมุนไพรในระยะรอคลอดของผู้คลอดโดยคาดหวังว่าผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาความเจ็บปวดในระยะรอคลอดและเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดของผู้คลอดในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการประคบร้อนด้วยลูกประคบสมุนไพร และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะรอคลอดตามปกติ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-Experimenta Design) เชิงคุณภาพซึ่งทำการศึกษาในห้องคลอดโรงพยาบาลโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนสิงหาคม-เดือนพฤศจิกายน 2557 โดยคัดเลือกกลุ่มแบบจำเพาะเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าและสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวนกลุ่มละ 22 รายเท่ากัน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 44 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการประคบร้อนด้วยลูกประคบสมุนไพร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินระดับความเจ็บปวดที่พัฒนาขึ้นจากแบบ Nemeric scale และWong Baker Face Scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ทดสอบหาความสัมพันธ์ และสถิติทดสอบค่าที (Paired t-test)เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดก่อนและหลังการทดลอง
เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนได้รับการประคบร้อนด้วยลูกประคบสมุนไพร พบว่ากลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยของความเจ็บปวดอยู่ที่7.59 มีค่าคะแนนความเจ็บปวดต่ำกว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความเจ็บปวดอยู่ที่7.64 ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดระหว่างกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติและกลุ่มทดลองภายหลังที่ได้รับการประคบร้อนพบว่ากลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดอยู่ที่ 7.36 มีค่าคะแนนความเจ็บปวดสูงกว่า กลุ่มทดลองที่มีคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดอยู่ที่6.23 พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดกลุ่มทดลองก่อนและหลังโดยใช้สถิติ paired t-test พบว่าความเจ็บปวดของกลุ่มทดลองก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
โรงพยาบาลโกสุมพิสัยเป็นโรงพยาบาลที่ไม่มีสูติแพทย์อยู่ประจำ การที่จะใช้ยาระงับปวดได้นั้นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของสูติแพทย์อย่างใกล้ชิดเพราะผลข้างเคียงของยามีผลต่อมารดาและทารกในครรภ์ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีมากๆสำหรับบริบทของโรงพยาบาลที่ไม่ค่อยมีทางเลือกมากนัก เพราะมารดาทุกรายที่มาคลอดจะได้รับการดูแลบรรเทาลดปวดจากการประคบร้อนด้วยลูกประคบสมุนไพรที่มีการยืนยันประสิทธิผลการวิจัยชัดเจน
การใช้ความร้อนจากลูกประคบสมุนไพรอาจช่วยลดระยะเวลาในระยะที่ 2 ของการคลอด เพราะในระหว่างการดำเนินการวิจัยพบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มทดลอง ใช้เวลาในระยะที่ 2 ลดลง ส่งผลดีทำให้ช่วงเวลาความเจ็บปวดลดลง แต่อาจต้องคำนึงถึงภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดเร็วคือภาวะตกเลือดหลังคลอด ในด้านผลกระทบจากการประคบร้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้คลอดและทารกในครรภ์ก็ควรมีการเก็บข้อมูลและเฝ้าระวังเช่นกัน
งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากทีมเจ้าหน้าที่ห้องคลอดทุกท่านที่ช่วยกันเก็บข้อมูลและลงมือทดลอง ได้รับคำแนะนำจากทีม far ของโรงพยาบาลที่ให้ความรู้ช่วยหาอาจารย์ที่ปรึกษาและงานการพยาบาลให้งบประมาณสนับสนุนไปอบรมการเขียนงานวิจัยให้สามารถทำวิจัยได้จนสำเร็จ
ไม่เป็น
ไม่เคย
มหกรรมวิชาการสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โรงแรมตักสิลา
ไม่เคย