pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ประสิทธิผลของนวัตกรรม scale IV และวงล้อการปรับระดับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

งานวิจัยปี

2558

คำสำคัญ

ภาวะแทรกซ้อน สารน้ำมากเกิน โรคไข้เลือดออก

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การรักษาวินิจฉัยโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ตึกเด็กโตพบภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้เลือดออก คือ ภาวะน้ำเกิน ปี พ.ศ. 2553, 2554 ,2555 และ 2556 พบ ร้อยละ 3.58, 3.09, 2.33 และ 2.65 ตามลำดับ ปัญหาการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ พบมากในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุระหว่าง 3- 12 ปี ที่ยังมีความซุกซน ไม่อยู่นิ่ง โอกาสที่จะเกิดการเคลื่อนของเข็มออกนอกเส้นเลือดขณะผู้ป่วยเคลื่อนไหว พบร้อยละ 68.7 มีการหักพับงอ พบร้อยละ 31.3 ร่วมกับหอผู้ป่วยยังขาดเครื่อง Infusion pump ที่จะเป็นตัวควบคุมอัตราการไหลให้ได้ถูกต้องครบถ้วน เป็นผลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำมากเกินหรือไม่ได้ตามแผนการรักษา

วัตถุประสงค์

ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำครบถ้วนตามแผนการรักษา มากกว่าร้อยละ 80 ลดภาวะน้ำเกินจากโรคไข้เลือดออกได้ มากกว่าร้อยละ 25 และพยาบาลมีความสะดวกและพึงพอใจ มากกว่าร้อยละ 80

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นวิจัยเชิงทดลอง Experimental research เปรียบเทียบระหว่าง การใช้ scale IV ร่วมกับวงล้อการปรับระดับสารน้ำทางหลอดเลือดดำกับ set macrodrip และ set microdrip กับผู้ป่วยปกติที่ไม่ได้ใช้ scale IV หรือเครื่องInfusion pump ทั้ง set macrodrip และ set microdrip จำนวน กลุ่มละ 30 ราย ทั้งหมด 120 ราย

ผลการศึกษา

ผู้ป่วยจำนวน 30 คน ที่ใช้ scale IV ร่วมกับวงล้อการปรับระดับสารน้ำกับ set microdrip ผู้ป่วยได้รับสารน้ำครบถ้วนร้อยละ 100 ผู้ป่วยจำนวน 30 คน ที่ใช้ scale IV ร่วมกับวงล้อกับ set macrodrip ผู้ป่วยได้รับสารน้ำครบถ้วน ร้อยละ 87.5 เปรียบเทียบกับ ผู้ป่วยจำนวน 30 คน ที่ไม่ใช้ scale IV กับ set microdrip ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ ครบถ้วนร้อยละ 25 ผู้ป่วยจำนวน 30 คน ที่ไม่ใช้ scale IV กับ set macrodrip ผู้ป่วยได้รับสารน้ำครบถ้วน ร้อยละ 12.55 ใน ปี พ.ศ. 2556 สถิติน้ำเกินจากโรคไข้เลือดออกพบ 14 รายในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจำนวน 423 ราย ปี พ.ศ. 2558 พบผู้ป่วยน้ำเกินลดลงเหลือ 1 ราย ใน 92 ราย สถิติน้ำเกินลดลงร้อยละ 58.86 ผลสำรวจความพึงพอใจของพยาบาล พบว่าพยาบาลสามารถปรับระดับสารน้ำได้ตรงตามแผนการรักษา คิดเป็นร้อยละ 81.8 พยาบาลมีความสะดวกและง่ายในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 90.09

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

พยาบาลสามารถนำ scale IV และวงล้อมาใช้ทดแทน เครื่อง Infusion pump ได้เนื่องจากผลการตรวจสอบค่าได้ Flow error น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 % และเมื่อนำ scale IV ทุกขนาดมาทดลองใช้กับผู้ป่วย scale ละ 5 คน จำนวน 40 คน ค่าความคลาดเคลื่อนได้ค่า Flow error น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10% ซึ่งเป็นค่าที่สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต 7 จังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับได้

บทเรียนที่ได้รับ

1. ถ้าต้องใช้ scale ขนาด 20 ml และ 30 ml ควรใช้ร่วมกับเครื่อง Infusion pump เนื่องจาก มีความแม่นยำในการปรับน้อยที่สุด 2. การใช้ scale IV ร่วมกับวงล้อ ควรใช้ set microdrip จะทำให้มีความแม่นยำของอัตราการไหลได้มากกว่า set macrodrip หากใช้ set macrodrip ต้องหมั่นเดินปรับระดับสารน้ำให้บ่อยครั้งขึ้น การ Round IV ทุก 1 ชั่วโมง จะมีความแม่นยำของอัตราการไหลเป็นอย่างดี

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความอดทน เพียรพยายาม ในการขีดระดับสารน้ำทุก 1ชั่วโมง จำนวน 8 scale ความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่ทุกระดับเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำให้ได้ตามแผนการรักษา

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ไข้เลือดออก

เป็นสิ่งประดิษฐ์

Scale IV ร่วมกับวงล้อการปรับระดับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
มหาสารคาม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • 500
เผยแพร่เมื่อ
2558
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย