pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การจัดการมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

งานวิจัยปี

2557

คำสำคัญ

ให้ความรู้

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท None

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วปี พ.ศ. 2553 มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 15.16 ล้านตัน หรือ 41,532 ตันต่อวัน เป็นปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครประมาณวันละ 8,766 ตัน (ร้อยละ 21) ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยา ประมาณวันละ 16,620 ตัน (ร้อยละ 40) ส่วนที่เหลือเกิดขึ้นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประมาณวันละ 16,146 ตัน (ร้อยละ 39) ทั้งนี้ อัตราการเกิดขยะมูลฝอยโดยเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 0.64 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร มีค่าเฉลี่ยปริมาณมูลฝอยเท่ากับ 1.0 ตัน/วัน อัตราการเกิดมูลฝอยเฉลี่ย เท่ากับ 0.06 กิโลกรัม/คน/วัน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการมูลฝอย วางแผนการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) ใน 15 หมู่บ้าน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)มัธยฐาน (Median) และ ทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในครัวเรือน ทัศนคติต่อการจัดการมูลฝอยในครัวเรือน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา

พบว่า มูลฝอยที่เกิดขึ้นในบ้านเฉลี่ย 3.18 กก./วัน จัดอยู่ในประเภทพลาสติก ร้อยละ 76.1 มูลฝอยแต่ละประเภทเกิดขึ้นทุกวัน ร้อยละ 52.8 ภาชนะที่รองรับ ส่วนใหญ่เป็นถังพลาสติก ร้อยละ 99.2 มีฝาปิด ร้อยละ 73.4 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ร้อยละ 81.4 ขยะที่คัดแยกส่วนใหญ่เป็นเศษไม้ ร้อยละ 94.7 กำจัดโดยการเผา ร้อยละ 75.0 คัดแยกแล้วนำไปขาย ร้อยละ 96.1 มีรถรับซื้อที่บ้าน ร้อยละ 94.8 ขยะที่ไม่ได้คัดแยกจะฝังกลบ/นำไปทิ้งป่าช้า ร้อยละ 100 ได้รับความรู้การคัดแยกมูลฝอยจากสื่อ ร้อยละ 66.5 มีความรู้ด้านการจัดการมูลฝอยปานกลาง ร้อยละ 64.9 มีทัศนคติการจัดการมูลฝอยสูง ร้อยละ 81.9 และมีการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนปานกลาง ร้อยละ 54.3 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติกับการจัดการมูลฝอยในครัวเรือน ไม่มีความสัมพันธ์กัน ประชาชนต้องการความรู้เพิ่มเรื่อง การทำน้ำหมักชีวภาพ การคัดแยกมูลฝอย ร้อยละ 100

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหนองฮาง นำผลการวิจัยมากำหนดเป็นแนวทางในการอบรมให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนอย่างถูกวิธี คนในชุมชนมีความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการจัดการมูลฝอยในครัวเรือน และเป็นการช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ะเกิดขึ้นในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทเรียนที่ได้รับ

การดำเนินงานด้านการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนกับชุมชนให้ได้ผลสำเร็จต้องมีการศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยในครัวเรื่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ แล้วป้อนคืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันคิด กำหนดวิธีการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ทำให้เกิดการจัดการมูลฝอยในชุมชนอย่างยั่งยืน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ผู้บริหารระดับอำเภอได้ผลักดันนโยบาย นพ.สสจ.สกลนคร ตามโครงการ สกลนครรักษ์อนามัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผ่านเวทีสภาสุขภาพระดับอำเภอวานรนิวาส และผู้บริหาร รพ.สต.บ้านหนองฮาง ให้ความสำคัญและตอบรับนโยบาย อำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติทำให้สามารถดำเนินงานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ที่ สธ 0916.02/602 ฉบับที่ 2 ปีที่ 6 เผยแพร่ในเดือนตุลาคม 2557

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
สกลนคร
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อีสานตอนบน
เขตสุขภาพ
เขตที่ 8
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • 27390
เผยแพร่เมื่อ
2557
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย