โรคไตเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุหนึ่งในสิบของการตายของผู้ป่วยในและการใช้ยาปฏิชีวนะที่มีมูลค่าการใช้สูงโดยในปี2552มูลค่าของการจัดซื้อยากลุ่มนี้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของมูลค่ายาทั้งหมด คิดเป็นประมาณ 60 ล้านบาทต่อปี พบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องโดยไม่มีการปรับขนาดยาสูงทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น และอาจทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงสนใจศึกษาปัญหาการใช้ยาในแง่ของ การสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ในผู้ป่วยตบกพร่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับขนาดยาให้เหมาะสม ของผู้ป่วยซึ่งช่วยลดปัญหาจากการรักษาด้วยยาลงโดยเภสัชกรนำเสนอแพทย์ผู้สั่งใช้ยา รวมทั้งศึกษาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อแพทย์ไม่ได้ปรับขนาดการใช้ยา ในมุมมองของผู้ให้บริการด้วยเพื่อเป็นข้อมูลให้มีการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละรายต่อไป
ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับขนาดยา การยอมรับของแพทย์ต่อการปรับขนาดยา รวมถึงมูลค่าเฉพาะยาที่ประหยัดได้จากการปรับขนาดยาโดยเภสัชกร
การศึกษาแบบพรรณนาเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าในกลุ่มผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2553 ระยะเวลา 4 เดือน ที่สภาวะการทำงานของไตบกพร่องมีค่า serum creatinine > 2 mg% และได้รับยาปฏิชีวนะแบบฉีด ใน16 รายการ ( amikin cefpirome colistin ciprofloxacin levofloxacin fosfomycin ceftazidime gentamicin erapenam netromycin sulperazon tienam meropenam tazocin vancomycin augmentin )สถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ศึกษาแสดงข้อมูลความครอบคลุมในการติดตามปรับขนาดยาปฏิชีวนะและประเมินผลการยอมรับการปรับขนาดยาของแพทย์ในผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในรพ.ที่มีไตบกพร่องโดยเภสัชกร สถิติวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับขนาดยาของแพทย์ คือ Multiple Logistic Regression สถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้สูตรคำนวณการทำงานของไต ใช้สถิติ Paired t test
แพทย์สั่งใช้ยา 270 ครั้ง มีผู้ป่วยควรปรับขนาดยา 90.4% (227/270) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับขนาดยาของแพทย์ คือ ค่าการชำระครีเอตินีน ( CrCl) โดยค่า CrCl<15 ml/min, Odd ratio =-0.99; 95% Confidence Interval(CI) 0.189-0.730, p=0.004 และ CrCl 15-29 ml/min, Odd ratio=-2.040 ; 95%CI 0.053-0.320, p=0.000 การยอมรับของแพทย์ต่อการนำเสนอปรับขนาดยาโดยเภสัชกร คิดเป็น 63.8% (74/116) มูลค่าเฉพาะยาที่ประหยัดได้จากการปรับขนาดรวม 121,739 บาท เมื่อเทียบสูตรการคำนวณสภาวะการทำงานของไต ในการได้ผลลัพธ์ของค่า CrCl โดยใช้สมการ 2 แบบ คือ Cockcroft and Gault และสมการ MDRD โดยการใช้สถิติ paired t-test พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงได้นำสมการแบบ Cockcroft and Gault มาใช้เช่นเดียวกับรายงานการศึกษาอื่น
ค่า sCr ใช้ปรับขนาดยาที่ง่าย การใช้สูตรคำนวณค่าการทำงานไต Cockcroft and Gault และ MDRD จะได้ค่า CrClแตกต่างกัน โดยการนำไปใช้ในทางปฏิบัติไม่สามารถใช้แทนกัน และผู้ป่วยมีการทำงานไตบกพร่องและได้รับยาปฏิชีวนะครั้งแรกนั้น ถ้าได้รับการปรับขนาดยาอย่างรวดเร็วทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ ส่งเสริมให้มีการสั่งใช้ยาในขนาดเหมาะสมและ ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยา
พัฒนาระบบการทำงานร่วมกันในสหวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาได้
ความมุ่งมั่นเรียนรู้และพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องภายใต้ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ไม่เป็น
เภสัชกรรมคลีนิก
สามัญประจำปี 2555 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย ไบเทคบางนา กทม. 2555
ไม่เคย