pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

อุปกรณ์การถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่านั่งสำหรับผู้ป่วยเด็กก่อนวัยเรียนที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

งานวิจัยปี

2556

คำสำคัญ

การให้บริการ ช่องท้อง ทรวงอก ทางเดินหายใจ รังสี

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท None

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การสนับสนุนบริการ ธุรการ,IT,ห้อง Lab,x-ray อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ปัญหาของการถ่ายภาพรังสีทรวงอกผู้ป่วยเด็ก คือการที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือในการถ่ายภาพเอกซเรย์ทำให้การจัดท่าเอกซเรย์ทำได้ยากใช้เวลาในการเกลี้ยกล่อมผู้ป่วยเด็กเพื่อเอกซเรย์นานเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ตลอดจนส่งผลให้เกิดการสูญเสียของฟิล์มเอกซเรย์จากการเอกซเรย์ซ้ำเนื่องมาจากการที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือผู้วิจัยจึงคิดออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็กอายุก่อนวัยเรียน เป็นที่นั่งรถเด็กเล่นที่สามารถหมุนฐานที่นั่งพร้อมทั้งมีของเล่นสำหรับกดและมีเสียงดังเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก และลดความความหวาดกลัว และใช้ถ่ายภาพรังสีได้หลายท่าช่วยทำให้การจัดท่าในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกและช่องท้องของเด็กสะดวก รวดเร็ว และลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในการในการจับเด็ก และลดการสูญเสียของฟิล์มเอกซเรย์จากการเอกซเรย์ซ้ำอันเนื่องมาจากการที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือ ส่งผลให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองดีขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพรังสี ที่มีประสิทธิภาพและช่วยลดปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือจากเด็กอายุก่อนวัยเรียน ตลอดจนสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนร่วมกับการถ่ายภาพ

ระเบียบวิธีวิจัย

ผู้วิจัยได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของเด็กโดยใช้ข้อมูลขนาดรูปร่างเฉลี่ยของเด็กอายุก่อนวัยเรียนมาทำที่นั่งสำหรับเด็กให้สามารถหมุนเพื่อถ่ายภาพทางรังสีได้หลายท่า และทดสอบความแข็งแรงก่อนนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง โดยให้เจ้าหน้าที่ชาย น้ำหนัก 60-70 กิโลกรัมขึ้นไปทดลองนั่ง พบว่าอุปกรณ์มีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักของเด็กโตได้ จากนั้นผู้วิจัยได้นำอุปกรณ์ดังกล่าวไปใช้กับผู้ป่วยทีกลุ่มงานรังสีวิทยา โดยใช้กับผู้ป่วยเด็กที่มาถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่านั่ง แล้วประเมินความพึงพอใจของญาติและผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กอายุก่อนวัยเรียนที่จำนวน 196 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีส่วนร่วมกับการถ่ายภาพรังสีเด็กจำนวน 20 คน เลือกโดย วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling)จากนั้นจึงประเมินค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยใช้มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของ Likert

ผลการศึกษา

อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 146 รายแบ่งเป็นผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็ก 126 ราย บุคลกรของสถาบันฯ 20 ราย ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่เป็นมารดา (ร้อยละ 48.47) ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ ต่ำกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 52.04) อาชีพส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน (ร้อยละ 33.16) ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่อายุระหว่าง 4 ขวบ – 5 ขวบ 6 เดือน ญาติหรือผู้ปกครองของเด็กป่วย มีค่าเฉลี่ยรวมของระดับความพึงพอใจค่อนข้างสูง (4.33 จากคะแนนเต็ม 5) ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในด้านความน่าใช้ของอุปกรณ์ อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 59.69 สำหรับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนร่วมกับการถ่ายภาพรังสีเด็ก ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60 มีการศึกษาส่วนใหญ่จบต่ำปริญญาตรี ร้อยละ 55 เป็นตำแหน่งผู้ช่วยคนงาน และเวรเปล ร้อยละ 70 มีค่าเฉลี่ยรวมของระดับความพึงพอใจ 4.03 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในด้านความสนใจของเด็กที่มีต่ออุปกรณ์ที่อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 60

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ได้มีการนำอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในเด็กวัยก่อนวัยเรียนในการทำงานประจำในหน่วยรังสีวิทยา ทำให้สามารถลดความสิ้นเปลืองและระยะเวลาในการให้บริการได้ และได้ทำการขยายผลโดยการประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพรังสีอย่างอื่น เช่น C-Spine, Skull

บทเรียนที่ได้รับ

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการคือ ควรมีสายรัดตัวเด็ก มีบันไดขึ้น-ลง ควรมีล้อและตัวล็อกสำหรับเคลื่อนย้าย ได้สะดวก ข้อที่ควรปรับปรุงอื่นๆ คือหัวรถของเล่นอยู่ต่ำเกินไป ทำให้เด็กต้องก้มหน้าเพื่อจับ ซึ่งอาจทำให้เด็กตกได้ ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย คือควรมีล้อสำหรับเคลื่อนย้ายและที่จับยึดเวลาถ่ายท่า Chest lateral จึงได้มีการวางแผนที่จะพัฒนาอุปกรณ์นี้เป็นการต่อยอดต่อไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การถ่ายภาพรังสีเด็กเป็นความท้าทายสำหรับนักรังสีทั่วไป และการมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีประสบการณ์ในการถ่ายภาพรังสี ที่มีความใส่ใจในความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วยเด็ก ตลอดจนความสามารถในการดัดแปลงและพัฒนาเครื่องมือและวิธีการในการเอกซ์เรย์ ให้เหมาะสมโดยเฉพาะสำหรับเด็กเล็กที่มีปัญหาในด้านการสื่อสารและความเข้าใจในกระบวนการดูแลรักษา

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ทางเดินหายใจ

เป็นสิ่งประดิษฐ์

1. พงษ์เนตร เมืองยศ. การออกแบบและการประดิษฐ์เก้าอี้สำหรับถ่ายภาพรังสีทรวงอกในเด็ก อายุ 1- 5 ปีในท่า Postero-anterior upright. ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่; 2548. 2. สุพัฒน์ คนงานและสุชาติ เกียรติวัฒนาเจริญ. การพัฒนาอุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีแบบเครื่องเล่นสวนสนุกสำหรับเด็กเล็ก 1-6 ขวบ. ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่; 2551. 3. ดารกา จันต๊ะมูลและคณะ. การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็ก. ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต(รังสีเทคนิค). มหาวิทยาลัยนเรศวร.พิษณุโลก; 2549. 4. ปรีชา ดีเทียน. การประดิษฐ์อุปกรณ์ยึดตรึงเด็กสำหรับถ่ายเอกซเรย์. ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค). มหาวิทยาลัยนเรศวร.พิษณุโลก; 2548. 5. ศิรินภา นามวงษ์ และ อรทัย ทวีสิน ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพทางรังสีทรวงอกเด็กอายุ 1-6 ขวบ ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค), มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553 รายละเอียดการปรับปรุง: สามารถหมุนฐานที่นั่งและใช้ถ่ายภาพรังสีได้หลายท่า พร้อมทั้งมีของเล่นไว้กดมีเสียงดังเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ปรับฐานของอุปกรณ์ให้รองรับน้ำหนัก ถึง 60 kg.

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

นวัตกรรมในภาครัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม 2556

รางวัลที่ได้รับ

ผู้ร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เครือข่าย R2R
กรุงเทพมหานคร
เขตสุขภาพ
เขตที่ 13
ภูมิภาค
ภาคกลาง

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • 30000
เผยแพร่เมื่อ
2556
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย