pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อ quadricepsก่อนผ่าตัดที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

งานวิจัยปี

2555

คำสำคัญ

กล้ามเนื้อ การประเมิน การฝึกทักษะ ข้อ โรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า ออกกำลังกาย เข่า

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท None

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 0 เพิ่งทำวิจัยเสร็จ

ประเด็นวิจัยหลัก

การรักษาวินิจฉัยโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเรื้อรังมักมีอาการปวดเข่า พิสัยของการงอ เหยียดเข่าลดลง ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ quadriceps ลดลง จากการศึกษาในอดีตพบว่า การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ quadriceps หลังผ่าตัด มีผลทำให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีระดับความเจ็บปวดลดลง ระดับคุณภาพชีวิต Modified WOMAC Score ดีขึ้น แต่ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ quadriceps เพิ่มขึ้นค่อนข้างช้าต้องใช้เวลานาน 1-2 ปีหลังผ่าตัด จึงจะกลับสู่ภาวะปกติ สมมุติฐานของงานวิจัยนี้ ผู้ป่วยได้รับการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ quadriceps ก่อนผ่าตัดจะสามารถลดระดับความเจ็บปวด เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ quadriceps และเพิ่มคุณภาพชีวิต Modified WOMAC Score ได้ดีกว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลปกติ

วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวด,พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่า,quadriceps strength,Modified WOMAC Score หลังผ่าตัด TKR ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับ quadriceps exercise ก่อนผ่าตัดและผู้ป่วยได้รับการดูแลปกติ

ระเบียบวิธีวิจัย

รูปแบบการศึกษา : การทดลองทางคลินิกชนิดสุ่มผู้ป่วยเข้ากลุ่ม วิธีการศึกษา: ตั้งแต่มกราคม 2011 - มกราคม 2012 , ผู้ป่วยที่เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจำนวน 60 คนเข้าร่วมในงานวิจัย ผู้ป่วยที่ได้รับการสุ่มออกเป็นสองกลุ่มโดยการใช้ซองจดหมายที่ใช้ปิดผนึก กลุ่มละ 30 คน ผู้ป่วยที่ได้รับการสุ่มให้เป็นกลุ่มออกกำลังกายกล้ามเนื้อ quadriceps ก่อนผ่าตัด ได้รับการแนะนำโปรแกรมการออกกำลังกล้ามเนื้อ quadriceps 3 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดจนถึงวันผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับการสุ่มให้เป็นกลุ่มดูแลตามปกติได้รับการแนะนำให้ดำเนินชีวิตตามปกติจนถึงวันผ่าตัด. ข้อมูล 4 ชนิดถูกเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ระดับความเจ็บปวด (VAS), ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ quadriceps,พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่า Modified WOMAC Score ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินทั้งหมด 4 ครั้ง:คือ 3 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด, 1 , 3 และ 6 เดือนหลังผ่าตัด

ผลการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 60 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุมากกว่า 60 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม. ดัชนีมวลกาย ระยะเวลาปวดเข่า การใช้ยาแก้ปวด paracetamal NSAID ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการติดตามผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มตลอดการวิจัย พบว่า กลุ่มออกกำลังกายกล้ามเนื้อ quadriceps ก่อนผ่าตัดมีระดับความเจ็บปวดลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มดูแลตามปกติ หลังผ่าตัด 3เดือน.( (p =0.003). และมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ quadriceps เพิ่มขึ้นมากกว่าในการวัดทุกครั้งหลังผ่าตัด . กลุ่มออกกำลังกายกล้ามเนื้อ quadriceps ก่อนผ่าตัดมี ค่าเฉลี่ย Modified WOMAC Score ลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มดูแลตามปกติ หลังผ่าตัด 1, 3 เดือน.ส่วนพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าไม่แตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่ม

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ผู้ป่วยที่รักษาโดยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมควรได้รับการฝึกทักษะบริหารกล้ามเนื้อ quadriceps อย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาในระยะสั้นหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

บทเรียนที่ได้รับ

การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ควรเริ่มตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ไม่ควรทำหลังผ่าตัดอย่างเดียว ถ้าหากผู้ป่วยได้รับการออกกำลังที่มีคุณภาพ สม่ำเสมอก่อนผ่าตัด จะทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาดีขึ้นกว่าในการวิจัยนี้ เนื่องจากการวิจัยนี้การสอนการออกกำลังกายกล้ามเนื้อ quadriceps ก่อนผ่าตัด สอนเพียงครั้งเดียว ไม่สามารถติดตามได้ว่าผู้ป่วยทุกคนได้รับการออกกำลังที่มีคุณภาพ สม่ำเสมอหรือไม่

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การทำงานในการวิจัยครั้งนี้เป็นการทำงามร่วมกันของสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ผู้ผ่าตัด,พยาบาล,นักกายภาพบำบัด เพื่อให้การวิจัยมีความถูกต้อง ไม่มี Bias

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ข้อเข่าเสื่อม

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

งานประชุมนำเสนองานวิชาการ จากงานประจำสู่งานวิจัย โรงพยาบาลแพร่ ห้องประชุมชั้น 6 โรงพยาบาลแพร่

รางวัลที่ได้รับ

รางวัลนำเสนออันดับที่ 1 , รางวัลผลงานดีเด่นอันดับที่ 1 รงพยาบาลแพร่

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
แพร่
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 1
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2555
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย