pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ระบบควบคุมคุณภาพการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องเจาะปลายนิ้ว ของเครือข่ายสถานบริการสุขภาพ คปสอ. ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

งานวิจัยปี

2555

คำสำคัญ

การฝึกทักษะ โรคเบาหวาน เลือด ให้ความรู้ การให้บริการ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท None

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การสนับสนุนบริการ ธุรการ,IT,ห้อง Lab,x-ray อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดเจาะปลายนิ้วหรือกลูโคสมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่มีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ใช้ปริมาณเลือดน้อยได้ผลรวดเร็ว ผู้ที่ได้รับการฝึกทักษะและวิธีการใช้งานก็สามารถใช้เครื่องได้ เดิมนิยมใช้ ในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล ปัจจุบันได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน แต่สิ่งที่ผู้ใช้มักมองข้ามคือ การควบคุมคุณภาพ จากสถิติความคลาดเคลื่อนผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยเครื่องกลูโคสมิเตอร์ จากหอผู้ป่วยโรงพยาบาลลับแล และรพสต.ในความรับผิดชอบ คปสอ.ลับแล ในปีงบประมาณ 2554 ที่ส่งตรวจซ้ำ พบว่า มีผลการตรวจระดับน้ำตาลคลาดเคลื่อนจากวิธีมาตรฐานมากกว่าเกณฑ์ยอมรับ ร้อยละ 20.9 มีผลให้ผู้ป่วยได้รับการเปลี่ยนแผนการรักษาโดยไม่จำเป็น และได้รับการส่งต่อจาก รพสต.มายังโรงพยาบาล ทำให้มีผู้รับบริการในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การให้บริการล่าช้า เป็นเหตุให้ผู้รับบริการไม่พึงพอใจได้

วัตถุประสงค์

เพื่อลดปัญหาการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยกลูโคสมิเตอร์คลาดเคลื่อนไม่สอดคล้องกับวิธีมาตรฐาน และจัดทำระบบควบคุมคุณภาพเครื่องกลูโคสมิเตอร์ของ คปสอ.ลับแล เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการควบคุมคุณภาพกลูโคสมิเตอร์

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)วิจัยเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและนำผลการวิจัยไปใช้ในการทำงานและปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1สำรวจปัญหาทั่วไปและปัญหาการใช้ เครื่องกลูโคสมิเตอร์ที่มีใช้อยู่ในแต่ละหน่วยบริการ และ ขึ้นทะเบียนเครื่องกลูโคสมิเตอร์ทุกเครื่องพร้อมทั้ง ทำการสอบเทียบ(Calibration.)ให้ได้มาตรฐานก่อนส่งให้ จุดบริการและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ส่วนที่ 2 เป็นการให้ความรู้ แก่ผู้ใช้และแจกจ่ายคู่มือการใช้เครื่องกลูโคสมิเตอร์ให้กับ รพสต.และจุดบริการทุกหน่วยของโรงพยาบาล ส่วนที่ 3 ประเมินผลการทดสอบและการแก้ปัญหา โดยห้องปฏิบัติการ ส่งสารตัวอย่างให้กับ รพสต.และจุดบริการทุกหน่วยของโรงพยาบาล เดือนละครั้ง เมื่อพบปัญหาว่าผลการทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์(ค่า VIS มากกว่า 120) ห้องปฏิบัติการกลางช่วยหาแนวทาง แก้ไข

ผลการศึกษา

จากการสำรวจพบว่า คปสอ.ลับแล มีเครื่องกลูโคสมิเตอร์ จำนวน 108 เครื่องได้รับการขึ้นทะเบียน ร้อยละ 100 ปัญหาของการใช้เครื่อง กลูโคสมิเตอร์ คือ ความไม่พร้อมใช้ของเครื่อง กลูโคสมิเตอร์ ร้อยละ 18.2 ระยะเวลาในการใช้เครื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ร้อยละ 25.4 ชุดทดสอบเสื่อมคุณภาพ ร้อยละ 3.9 เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ ร้อยละ 9.4 หลังจากนำระบบคุณภาพทดลองใช้พบว่า เครื่องกลูโคสมิเตอร์ได้รับการสอบเทียบ ร้อยละ 100 ผู้ใช้เครื่องกลูโคสมิเตอร์ได้รับ การฝึกอบรมทักษะการใช้เครื่อง ร้อยละ 95.8 ผลการส่งสารตัวอย่าง จำนวน 12ครั้ง ได้รับ ผลตอบกลับ คิดเป็น ร้อยละ 98.51ค่า VarianceIndex Score,(VIS)น้อยกว่า 50 ร้อยละ 15.0 ค่า VIS 50-85 ร้อยละ 24.1 ค่า VIS 86-120 ร้อยละ 58.6 และ ค่า VIS มากกว่า 120 ร้อยละ 2.3 ผลการตรวจระดับตาลคลาดเคลื่อนจากวิธีมาตรฐาน มากกว่าเกณฑ์ยอมรับ ลดลงเหลือ ร้อยละ 0.5

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานประจำวัน และปัญหาเชิงระบบบริการสาธารณสุข คปสอ.ลับแล เพื่อประโยชน์ในการประกันคุณภาพผลการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยกลูโคสมิเตอร์ให้ได้มาตรฐาน เป็นประโยชน์ในการดูแลติดตามผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ และผู้ใช้เครื่อง กลูโคสมิเตอร์ เกิดความมั่นใจ ระบบคุณภาพครอบคลุมถึง ความพร้อมใช้ของตัวเครื่อง ทักษะของผู้ใช้ และการบริหารจัดการชุดทดสอบ

บทเรียนที่ได้รับ

จากการศึกษานี้คือ ระบบควบคุณภาพ เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทุกฝ่ายต้องให้ความตระหนัก เนื่องจากเป็นสิ่งที่จะประเมินภาพโดยรวมได้ว่าการบริการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยเครื่องเจาะปลายนิ้วมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานเพียงใด ดังนั้นผู้บริหารควรกำหนดเป็นนโยบาย ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติด้วยความเข้าใจและถือเป็นความรับผิดชอบทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การศึกษาครั้งนี้สำเร็จได้ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการ หัวหน้าห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลลับแล และการให้ความร่วมมือจากผู้อำนวยการโรงพยาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลทุกแห่ง รวมถึงหัวหน้า จุดบริการในโรงพยาบาลลับแลทุกหน่วย ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุข ที่ให้ความสำคัญกับระบบควบคุมคุณภาพเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดชนิดเจาะปลายนิ้ว

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

เบาหวาน

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
อุตรดิตถ์
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 2
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • 5000.00
เผยแพร่เมื่อ
2555
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย